Monday, April 09, 2007
Dust Explosion การระเบิดของผง หรือ ฝุ่น
การระเบิดของผง หรือ ฝุ่น
คำนี้ อาจจะไม่ค่อยคุ้นเคยกันในประเทศไทย แต่สำหรับต่างประเทศแล้ว dust explosion เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอยู่บ่อย ๆ และ เป็นที่รู้จักกันดี ดังนั้น ในต่างประเทศจะมีการพัฒนาอุปกรณ์ป้องกันการระเบิดของผง ฝุ่นเพื่อป้องกันอันตรายอันอาจเกิดขึ้นได้โดยวัสดุที่สามารถก่อให้เกิดการระเบิดของฝุ่นได้คือ วัสดุอินทรีย์ธรรมชาติ วัสดุอินทรีย์สังเคราะห์ ฯลฯ ซึ่งปรากฏการณ์นี้เรียกกันว่า Dust Explosion ซึ่งเป็นอุบัติเหตุที่ค่อนข้างรู้จักกันน้อยในประเทศไทย แต่ก็สามารถเกิดขึ้นได้ถี่มากขึ้นเรื่อย ๆ โดยแรงระเบิดก่อให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินจำนวนมาก การระเบิดเกิดจากปฏิกิริยาเคมีที่นำไปสู่การเพิ่มความดัน หรือแรงดันอย่างมหาศาลแล้วปลดปล่อยพลังงานจำนวนมากออกมาในทันที แต่สาร ประกอบเคมีบางชนิดไม่ก่อให้เกิดการระเบิดของฝุ่นได้เช่น คาร์บอเนต ซิลิเกต ฯลฯ ดังนั้นในอุตสาหกรรมผลิตปูนซีเมนต์ เหมืองทราย เหมืองปูนขาว จึงไม่มีความเสี่ยงในการเกิดระเบิดได้
การระเบิดเริ่มต้นจากชิ้นส่วนของอุปกรณ์ เช่น เครื่องโม่ เครื่องผสม เครื่องเป่าแห้ง ไซโคลน hopper Silo ท่อดูดอากาศ และระบบการส่งด้วยลม เป็นต้น ดังนั้นจึงมีการพัฒนาเครื่องมือป้องกัน
การระเบิดของฝุ่นขึ้นโดยนำไปติดตั้งร่วมกับอุปกรณ์ดังกล่าวเพื่อความปลอดภัยในการทำงาน
.
Wednesday, April 04, 2007
Turbine Vibrators
- เสียงเบา
- มีขนาดเล็กกว่า Ball Vibrator เมื่อเทียบที่ การสั่นสะเทือนเท่ากัน
- ประหยัดพลังงานกว่า เพราะใช้ แรงลม เพียง 1 ใน 3 ของ Ball Vibrator เท่านั้น
- ไม่มีหมอกควันของไอน้ำมัน เนื่องจากไม่ต้องใช้น้ำมันหล่อลื่น ทำให้สะอาดในขณะที่ทำง
- ทนทาน ดูแลรักษาง่าย
Flow Aids
Flow Aids
Flow Aids หรือ อุปกรณ์ที่ช่วยให้วัสดุชนิด ผง เกล็ด เมล็ด ที่บรรจุในฮอปเปอร์ หรือไซโลสามารถเคลื่อนที่และไหลออกมาได้ง่าย โดยอาศัยการสั่นสะเทือนทำให้เกิดการจัดเรียงตัวใหม่ของวัสดุ ซึ่งโดยทั่วไปวัสดุที่เก็บในฮอปเปอร์หรือ ไซโล มักเกิดปัญหาติดขัดในขณะขนถ่ายวัสดุ (Discharge) ทำให้สูญเสียเวลาทำงาน ดังนั้นเมื่อเกิดปัญหานี้ส่วนใหญ่มักแก้ไขด้วยการใช้ค้อนทุบบริเวณโคน (Cone) ของฮอปเปอร์ เพื่อให้เกิดการสั่นสะเทือนทำให้วัสดุเคลื่อนตัวออกมา แต่ถ้าวัสดุนั้นเกิดปัญหาติดขัดบ่อยครั้งการแก้ปัญหาด้วยการทุบอาจเป็นสาเหตุทำให้ ฮอปเปอร์แตก หรือร้าวได้ ซึ่งปัญหาการติดขัดหรืออุดตันของวัสดุเกิดจากหลายสาเหตุขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของวัสดุแต่ละชนิด เช่น วัสดุบางชนิดจะติดขัดเป็นโพรงโค้งคล้ายสะพานบริเวณโคนของ ฮอปเปอร์ (Bridging) บางชนิดติดขัดบริเวณโดยรอบแต่จะมีโพรงคล้ายรูหนู ตรงกลางทะลุจากด้านบนลงล่าง (Rat Holing) ฯลฯ ดังนั้นจึงต้องพิจารณาลักษณะการไหลของวัสดุแต่ละชนิดประกอบกับการเลือกใช้ Flow Aids ที่เหมาะสมกัน
.
Flow Aids จึงเป็นอุปกรณ์อีกชนิดหนึ่งที่เข้ามามีส่วนช่วยในกระบวนการถ่ายวัสดุออกจาก ฮอปเปอร์ ซึ่งปัจจุบันมักพบว่าในงานอุตสาหกรรมการผลิตต่างๆ มีการนำ Flow Aids มาใช้กันอย่างแพร่หลาย เช่น
- . Pneumatic Ball Vibrator เป็นอุปกรณ์ที่ใช้แรงลมทำให้เกิดการสั่นสะเทือนการใช้งานง่าย ทนทาน ไม่ต้องบำรุงรักษาบ่อย มีให้เลือกหลายขนาดตามลักษณะของการใช้งาน
- Pneumatic Piston Vibrator เป็นอุปกรณ์ที่ใช้แรงลมช่วยให้เกิดการกระแทกของลูกสูบภายในทำให้เกิดเสียงดังจากแรงสั่นสะเทือน ซึ่งเหมาะกับวัสดุที่มีการติดขัด และเกิดการกดทับอัดแน่นจนการสั่นสะเทือนแบบ Ball Vibrator ทั่วไปไม่สามารถใช้ได้ผล
- Rotary Electric Vibrator เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ไฟฟ้าสำหรับการสั่น สะเทือน ซึ่งมีแรงสั่นสะเทือนสูง เสียงเงียบในขณะทำงาน สามารถนำไปติดตั้ง ใช้งานได้ในหลาย ๆ ที่ แต่ขนาดของ Rotary Electric Vibrator จะมีขนาดใหญ่และมีน้ำหนักมากกว่า Vibrator ทั้งสองชนิดที่ได้กล่าวมาแล้ว
ในกรณีที่โรงงานมีการติดตั้ง Ball Vibrator หรือ Piston Vibrator หลาย ๆ ตัวในบริเวณที่ใกล้กัน และเปิดทำงานพร้อมกัน มักประสบปัญหา คือ เกิดเสียงดัง ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายทางเสียงต่อผู้ปฏิบัติงาน และอาจทำให้ฮอปเปอร์แตกหรือร้าวได้เช่นกัน ดังนั้นจึงมีการพัฒนา Vibrator ชนิด Turbine Vibrator ให้มีขนาดเล็ก เสียงไม่ดัง โดยสามารถนำไปใช้แทน Pneumatic Ball Vibrator ได้โดยไม่ต้องเปลี่ยนแปลงอุปกรณ์ร่วมใด ๆ
นอกจากการเลือกขนาดและจำนวน Flow Aids ให้เหมาะสมกับการถ่ายวัสดุออกจาก ฮอปเปอร์หรือไซโลแล้วยังมีปัจจัยบางประการที่ต้องนำพิจารณาร่วมด้วย เช่น รายละเอียดขนาด รูปร่างความลาดเอียงของโคน ฮอปเปอร์หรือไซโลที่ใช้บรรจุ บริเวณที่จะติดตั้งรวมถึงระยะเวลาการทำงานของ Flow Aids เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อให้การ Discharge เป็นไปอย่างต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพมากที่สุด
.
Tuesday, April 03, 2007
วัสดุประเภท Bulk Material ชนิด ผง เกล็ด หรือ เมล็ดที่นำไปใช้งานอุตสาหกรรมมักจะผ่านขบวนการคัดแยกขนาด เพื่อนำเข้าสู่ขั้นตอนการผลิต หรือขบวนการบรรจุก่อนจำหน่ายออกสู่ผู้บริโภคซึ่งนับว่าเป็นอีกหนึ่งขั้นตอนที่มีความสำคัญ ดังนั้นการเลือกเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ที่จะนำมาใช้ในการคัดแยกขนาดจึงคำนึงถึงเทคโนโลยีที่รองรับการใช้งานเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด และอีกปัจจัยหนึ่งที่นำมาประกอบการพิจารณาก่อนตัดสินใจเลือกใช้ คือ การทำความสะอาด
ด้วยเหตุนี้เองเทคโนโลยีการคัดขนาดวัสดุประเภท ผง เกล็ด เมล็ด หรือการ Sieve ในปัจจุบันจึงมีการพัฒนาการใช้งานให้สอดคล้องกับแนวคิด แบบ Easy Clean Design โดยให้ความสำคัญในเรื่องการทำความสะอาดได้ง่าย ลดการปนเปื้อนในขณะที่มีอัตราการทำงานสูง
EZ Sifter K650 เป็นเครื่องคัดแยกขนาดที่ใช้เทคโนโลยีแบบ Cantilever (แขนเหวี่ยง) หรือ Rotary Sifter ซึ่งหลักการทำงานของ EZ Sifter K650 คือ การหมุนวนของแขนใบปาดที่หมุนรอบแกนได้ถึง 360 องศาด้วยความเร็วสูง ทำให้วัสดุที่มีขนาดเล็กกว่ารูตะแกรงซึ่งเป็นตัวกำหนดขนาดที่ต้องการไหลผ่านตะแกรงเข้าสู่ระบบถัดไป ส่วนวัสดุที่มีขนาดใหญ่กว่ารูของตะแกรงจะถูกผลักไปอีกด้านหนึ่งของเครื่องเพื่อนำกลับไปบดใหม่อีกครั้งหรือนำไปสู่อีกระบบหนึ่งได้ ทำให้การคัดร่อนขนาดทำได้อย่างรวดเร็ว เงียบ ไม่สั่นสะเทือนมาก การใช้งาน การทำความสะอาด และการบำรุงรักษา ได้ง่าย
นอกจากนี้เครื่อง EZ SIFTER K650 ยังมีข้อดีตรงที่สามารถติดตั้งได้ในพื้นที่ที่จำกัด เนื่องจากมีขนาดเล็ก แต่มีประสิทธิภาพในการทำงานสูง
EZ SIFTER เหมาะสำหรับการคัดแยกขนาดของแป้ง น้ำตาล นมผง เคมีภัณฑ์ ผงพลาสติก ฯลฯ ซึ่งวัสดุที่นำมาใช้ทำตะแกรงมีทั้งไนล่อน และ สแตนเลทขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งานแต่ละประเภท เช่น หากวัสดุที่ต้องการใช้มีขนาดเล็กมาก ด้วยข้อจำกัดของการเจาะรูของตะแกรงสแตนเลทจึงไม่สามารถรองรับงานในลักษณะนี้ได้ ดังนั้นตะแกรงไนล่อนจึงเป็นทางเลือกที่ดีอีกทางหนึ่งเพียงแต่อายุการใช้งานจะน้อยกว่าสแตนเลท
ถึงแม้การคัดแยกขนาดแบบ Centrifugal Sifter จะมีข้อดีหลายประการ แต่ก็ยังมีข้อจำกัดบางอย่าง คือ การคัดแยกขนาดใน 1 เครื่องจะคัดแยกได้เพียง 2 ขนาดเท่านั้น คือ ขนาดที่เล็กกว่ารูตะแกรง และ ขนาดที่ใหญ่กว่ารูตะแกรง แต่หากต้องการคัดแยกขนาดมากกว่า 2 ขนาดก็สามารถทำได้ โดยการออกแบบการติดตั้งเครื่องคัดแยกขนาดเพิ่มขึ้นเพื่อให้เหมาะสมกับแต่ละประเภทการใช้งาน
ระบบกระพ้อลำเลียง แบบ Z เป็นเทคโนโลยีการลำเลียงที่ได้รับการพัฒนามาจาก ระบบกระพ้อลำเลียง ( Bucket Elevators Systems ) ชนิดที่สามารถลำเลียงได้เฉพาะแนวตั้ง ( Verticle ) ผสมผสานกันระหว่างการลำเลียงในแนวนอน ( Horizontal ) โดยสามารถรองรับอัตราการลำเลียงวัสดุได้ตามที่ต้องการ
โดยปกติแล้ว ในประเทศไทยมักจะพบ กระพ้อลำเลียงที่ลำเลียงได้เฉพาะแนวตั้ง ซึ่งจะนิยมใช้ในอุตสาหกรรมเกษตร เช่น ลำเลียงข้าวสาร เมล็ดธัญญาพืช ต่าง ๆ โดยใช้ลำเลียงขึ้นที่สูงเพื่อการจัดเก็บในไซโล
ในปัจจุบัน กระพ้อลำเลียงสามารถพัฒนาเพื่อรองรับการใช้งานในหลาย ๆ รูปแบบ เริ่มตั้งแต่ การลำเลียงวัสดุขึ้นที่สูง เพื่อการจัดเก็บ หรือ เพื่อการบรรจุ เนื่องจาก การลำเลียงด้วยกระพ้อเป็นการลำเลียงวัสดุที่ไม่ทำให้วัสดุเกิดการแตกหัก ดังนั้นจึงเหมาะสำหรับลำเลียงวัสดุที่เปราะบาง แตกหักง่าย เช่น ข้าว ถั่ว มันฝรั่งทอดกรอบ ขนมปังกรอบ เกร็ดขนมปังกรอบ ผงปรุงรส อาหารสุนัขชนิดเม็ด เป็นต้น
กระพ้อลำเลียง แบบ " Z " มีข้อดี คือ
- สามารถลำเลียงด้วยอัตราเร็วตามต้องการ
- สามารถเลือกและ กำหนดจุดที่ต้องการจะลำเลียงได้หลายจุด
- โครงสร้างแข็งแรง ทนทาน สามารถลำเลียงได้ โดยไม่ต้องจำกัดความสูง และ ความยาวของการลำเลียง
- ทำความสะอาดได้ง่าย
- อายุการใช้งานนาน
- เลือกใช้วัสดุชนิด Food Grade ได้
- สามารถผลิตได้ในประเทศไทย