Wednesday, March 28, 2007

Angle of Repose - มุมกอง - มุมทรงตัว


Angle of Repose
- มุมกอง - มุมทรงตัว เป็นมุมที่ชันที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับแนวนอน แล้ววัสดุนั้น ๆ ไม่ไหลลง หรือ เคลื่อนลงมา

Angle of Repose - มุมกอง - มุมทรงตัว เป็นคุณสมบัติอีกประการหนึ่งของวัสดุ ประเภท Bulk Material ซึ่งเราจะสังเกตุเห็นได้จาก เมื่อเทวัสดุชนิด ผง เกล็ด ( แห้ง ) ลงบนพื้น จะเห็นว่า วัสดุประเภทจะกองเป็นมุมแหลมเหมือนภูเขา ซึ่งมุมดังกล่าวนี้จะมีความสัมพันธ์กับกับ ค่า Bulk Density พื้นผิวของวัตถุ สัมประสิทธิ์แรงเสียดทาน

ด้วยคุณสมบัตินี้เอง ทำให้การออกแบบ อุปกรณ์การจัดเก็บ เช่น ไซโล ฮอปเปอร์ ต้องมีขนาดที่รองรับปริมาณการจัดเก็บได้อย่างเหมาะสม ทั้งนี้ เนื่องจาก วัสดุจะมีมุมกอง เป็นยอดแหลม ทำให้เสียปริมาตร ด้านข้าง ไปจำนวนหนึ่ง ดังนั้นจึงควรออกแบบให้ ไซโล หรือ ฮอปเปอร์ นั้น ๆ มีปริมาตรที่ชดเชยกับพื่นที่ที่หายไปด้วย และโดยปกติแล้ว ไซโล ปหรือ ฮอปเปอร์นั้น จะมีมุมที่ลาดเอียงเพื่อให้วัสดุที่จัดเก็บสามารถไหลออกมาจาก ไซโล หรือ ฮอปเปอร์ ได้ดียิ่งขึ้น

หมายเหตุ : วัสดุที่เบา หรือมีค่า Bulk density ที่น้อย มักจะมีมุมกอง ที่แหลม หรือ ชัน มากกว่า วัสดุที่หนัก หรือ มีค่า bulk Density ที่มาก

Tuesday, March 20, 2007

Pneumatic Conveying Systems การลำเลียงด้วยระบบลม


เทคโนโลยีการลำเลียงขนถ่ายด้วยลม หรือ Pneumatic conveying systems เป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการลำเลียงวัสดุชนิด ผง และเมล็ด (Power & Granular) แบบแห้งที่สามารถไหลตัวได้ง่าย และไม่เปราะบางแตกหักได้ง่าย ซึ่งเป็นการลำเลียงขนส่งแบบ Bulk Handling ที่มีประสิทธิภาพอีกวิธีหนึ่ง ซึ่งเทคโนโลยีการลำเลียงประเภทนี้ได้รับการพัฒนาให้สามารถลำเลียงขนส่งวัสดุชนิด ผง และเมล็ดแห้งผ่านท่อลำเลียงไปยังพื้นที่โรงงานเป็นระยะทางไกล ซึ่งจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายเรื่องแรงงานการลำเลียงและบรรจุภัณฑ์ที่ใช้ในการบรรจุวัสดุ ทั้งยังช่วยลดค่าใช้จ่ายการทำความสะอาดในการลำเลีย เพราะเป็นระบบปิด สามารถควบคุมการฟุ้งกระจายของวัสดุ ช่วยลดการปนเปื้อนขณะลำเลียง และใช้พื้นที่ในการติดตั้งไม่มาก แต่ก็มีข้อจำกัดบางอย่าง เช่น ค่าใช้จ่ายในการลงทุนติดตั้งตอนเริ่มแรกและสูงมากเมื่อเปรียบเทียบกับการลำเลียงประเภทอื่น มีระยะทางในการขนส่งวัสดุค่อนข้างจำกัดในบางประเภท ปริมาณในการขนถ่ายวัสดุค่อนข้างจำกัด และลำเลียงได้เพียงทิศทางเดียว

เทคโนโลยีการลำเลียงแบบ นิวเมติก สามารถรองรับความต้องการของอุตสาหกรรมอาหารได้หลายประเภท ซึ่งมีความคล่องตัวสูงสามารออกแบบให้รองรับความต้องการได้ โดยขึ้นอยู่กับชนิดของวัสดุที่ต้องการลำเลียง ซึ่งมีให้เลือกทั้งระบบการไหลแบบหนาแน่น (DENSE PHASE) และ ระบบการไหลแบบเบาบาง (DILUTE PHASE) ซึ่งมีแนวทางการทำงานดังนี้

1. Dense Phase Conveying Systems เป็นการลำเลียงวัสดุชนิดผง เมล็ด ที่ได้รับการออกแบบให้ลำเลียงวัสดุเป็นกลุ่มก้อนภายใต้หลัก Positive Pressure โดยวัสดุถูกป้อนเข้าระบบ แล้วจะไหลผ่านท่อลำเลียงไปเก็บไว้ที่ภาชนะบรรจุหรือถังเก็บ ซึ่งจะสามารถลำเลียงวัสดุได้ปริมาณมากต่อครั้ง แต่จะลำเลียงด้วยความเร็วน้อย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของวัสดุที่ต้องการลำเลียง

2. Dilute Phase Conveying Systems เป็นการลำเลียงวัสดุชนิดผง เมล็ด ที่ได้รับการออกแบบให้ใช้ปริมาณลมมาก และต้องใช้ความเร็วสูง แต่ปริมาณของสารที่ลำเลียงได้มีปริมาณน้อยต่อครั้ง ทั้งนี้เพราะความหนาแน่นของสารในท่อลำเลียงมีเบาบาง ซึ่งทั้งสองระบบดังกล่าวนี้ สามารถเลือกให้เหมาะสมกับความต้องการลำเลียงได้


วัสดุที่ใช้ได้กับระบบนิวเมติก

· น้ำตาล
· เม็ด
· ครีมเทียม
· แป้งมันแป้งสาลี
· ข้าว
· ข้าวสาลี
· รำข้าว
· แกลบ
· ถั่วเหลือง
· ถั่วต่างๆ
· เมล็ดธัญพืช
· เมล็ดทานตะวัน
· เปลือกโกโก้
· เชอร์รี่
· เมล็ดกาแฟ

เป็นต้น



Saturday, March 17, 2007

Vibratory Equipments
.




การลำเลียงโดยใช้หลักการสั่นสะเทือน หรือ Vibration นั้นเป็นอีกเทคโนโลยีหนึ่งที่ใช้ได้ดีกับวัสดุแบบ Bulk Material ทั้งนี้เนื่องจากวัสดุชนิด ผง เมล็ด เกล็ด ต่าง ๆ เช่น ครีมเทียม นมผง แป้ง ชนิดต่าง ๆ เกล็ดขนมปังกรอบ ผงปรุงรส เมล็ดธัญญาพืช ฯลฯ วัสดุต่าง ๆ เหล่านี้มีคุณสมบัติทางกายภาพที่แตกต่างกัน เช่น Bulk Density (ความหนาแน่นจำเพาะของวัสดุ) ความคม ความเปราะบาง อัตราการไหล เป็นต้น

ด้วยเหตุนี้เองทำให้การลำเลียงบางประเภทต้องนำเอาหลักการสั่นสะเทือนมาประยุกต์ใช้กระบวนการลำเลียง การชั่งน้ำหนัก การบรรจุ การร่อนคัดขนาด การคัดแยกวัสดุ และสามารถรองรับความต้องการได้กับอุตสาหกรรมหลายประเภทอย่างมากมาย ดังนั้นจึงมีการพัฒนาเครื่องมือ หรือ อุปกรณ์ต่าง ๆ มาใช้งาน เป็น VIBRATORY EQUIPMENT หลายประเภท เช่น Vibratory Conveyor , Vibratory Feeder , Vibratory Screener , Vibratory Table เป็นต้น

Thursday, March 15, 2007

Iris Diaphragm Valves



Iris Diaphragm Valves เป็นวาล์วที่ใช้ควบคุมปริมาณการไหลผ่านของวัสดุชนิดผง เกล็ด เมล็ดได้ตามที่กำหนด โดยการเปิดและปิดวาล์วได้รับหลักการออกแบบให้ทำงานเช่นเดียวกับม่านตาของมนุษย์
ซึ่ง IDV ประกอบด้วยวงแหวนของทั้งสองด้าน(รูปที่ 1) ซึ่งขอบของวงแหวนด้านบนจะยึด Diaphragmไว้ ในขณะเดียวกันขอบวงแหวนด้านล่างจะหมุนวนให้เกิดเกลียวปิดหรือเปิดช่องได้ตามต้องการ(รูปที่ 2) และเมื่อหมุนวนที่ 180 องศา จะสามารถปิดช่องได้อย่างสมบูรณ์คล้ายกับม่านตาของม่านตาของคน(รูปที่ 3) ในกรณีที่ Diaphragm มีชั้นซ้อนกัน Diaphragm ตัวกลางเท่านั้นที่จะหมุนวน และเมื่อถึงตำแหน่ง 180 ๐ Diaphragm จะปิดอย่างสมบูรณ์เช่นเดียวกับ Diaphragm ชั้นเดียว (รูปที่ 4)

ข้อดีของ IDV คือ

1. น้ำหนักเบา
2. สามารถควบคุมการเปิดและปิดวาล์วได้อย่างสมบูรณ์
3. ช่วยลดปัญหาการฟุ้งกระจายของวัสดุ
4. ไม่มีปัญหาเรื่องการติดขัดขณะที่ใช้งาน เหมาะกับผลิตภัณฑ์ ชนิด ผง เกล็ด และ เมล็ด
5. สามารถใช้กับผลิตภัณฑ์ที่เปราะบาง หรือ แตกหักได้ง่าย
6. ใช้งานง่าย ปลอดภัยและทนทาน
7. สามารถเลือกใช้ได้ทั้งชนิด Hand , Pneumatic และ Motorised
8. มีอายุการใช้งานนาน ดูแลรักษาง่าย



การลำเลียงวัสดุแบบถุง กล่อง ลัง ขึ้น - ลง อย่างต่อเนื่องในที่ที่จำกัด

Vertiveyor อุปกรณ์ลำเลียงลำเลียงทางแนวตั้งอย่างต่อเนื่อง สำหรับการขนส่ง ถุง ถัง ลัง กล่อง รถเข็น พาเลท ฯลฯ จากจุดปฏิบัติการหนึ่งไปยังอีกจุดปฏิบัติการหนึ่ง โดยการออกแบบให้ in feed และ out feed ทำงานสัมพันธ์ เป็นจังหวะเดียวกัน จึงสามารถทำงานได้โดยใช้ผู้ปฏิบัติงานเพียงคนเดียว ซึ่งแตกต่างจากลิฟต์ขนของโดยทั่วไป ที่ต้องใช้เจ้าหน้าที่ถึง 2 คน

Vertiveyor สามารถออกแบบให้ทำงานได้ทั้ง 2 ทาง คือ ขึ้น และ ลง

Vertiveyor สามารถทำงานร่วมกับอุปกรณ์ลำเลียงชนิดอื่น เช่น เชื่อมต่อกับสายพานการลำเลียง ชนิด Belt หรือ Roller ที่มีระดับความสูงที่ต่างกันด้วยระบบอัตโนมัติ ทำให้ช่วยลดเวลา และประหยัดค่าใช้จ่ายในการขนส่ง อีกทั้งยังเพิ่มประสิทธิภาพการลำเลียงได้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

Vertiveyor มีโครงสร้างที่แข็งแรงทนทาน สามารถติดตั้งได้ในพื้นที่ที่จำกัด และ สามารถผลิตได้ในประเทศไทย