Pneumatic Conveying Systems การลำเลียงด้วยระบบลม
เทคโนโลยีการลำเลียงขนถ่ายด้วยลม หรือ Pneumatic conveying systems เป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการลำเลียงวัสดุชนิด ผง และเมล็ด (Power & Granular) แบบแห้งที่สามารถไหลตัวได้ง่าย และไม่เปราะบางแตกหักได้ง่าย ซึ่งเป็นการลำเลียงขนส่งแบบ Bulk Handling ที่มีประสิทธิภาพอีกวิธีหนึ่ง ซึ่งเทคโนโลยีการลำเลียงประเภทนี้ได้รับการพัฒนาให้สามารถลำเลียงขนส่งวัสดุชนิด ผง และเมล็ดแห้งผ่านท่อลำเลียงไปยังพื้นที่โรงงานเป็นระยะทางไกล ซึ่งจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายเรื่องแรงงานการลำเลียงและบรรจุภัณฑ์ที่ใช้ในการบรรจุวัสดุ ทั้งยังช่วยลดค่าใช้จ่ายการทำความสะอาดในการลำเลีย เพราะเป็นระบบปิด สามารถควบคุมการฟุ้งกระจายของวัสดุ ช่วยลดการปนเปื้อนขณะลำเลียง และใช้พื้นที่ในการติดตั้งไม่มาก แต่ก็มีข้อจำกัดบางอย่าง เช่น ค่าใช้จ่ายในการลงทุนติดตั้งตอนเริ่มแรกและสูงมากเมื่อเปรียบเทียบกับการลำเลียงประเภทอื่น มีระยะทางในการขนส่งวัสดุค่อนข้างจำกัดในบางประเภท ปริมาณในการขนถ่ายวัสดุค่อนข้างจำกัด และลำเลียงได้เพียงทิศทางเดียว
เทคโนโลยีการลำเลียงแบบ นิวเมติก สามารถรองรับความต้องการของอุตสาหกรรมอาหารได้หลายประเภท ซึ่งมีความคล่องตัวสูงสามารออกแบบให้รองรับความต้องการได้ โดยขึ้นอยู่กับชนิดของวัสดุที่ต้องการลำเลียง ซึ่งมีให้เลือกทั้งระบบการไหลแบบหนาแน่น (DENSE PHASE) และ ระบบการไหลแบบเบาบาง (DILUTE PHASE) ซึ่งมีแนวทางการทำงานดังนี้
1. Dense Phase Conveying Systems เป็นการลำเลียงวัสดุชนิดผง เมล็ด ที่ได้รับการออกแบบให้ลำเลียงวัสดุเป็นกลุ่มก้อนภายใต้หลัก Positive Pressure โดยวัสดุถูกป้อนเข้าระบบ แล้วจะไหลผ่านท่อลำเลียงไปเก็บไว้ที่ภาชนะบรรจุหรือถังเก็บ ซึ่งจะสามารถลำเลียงวัสดุได้ปริมาณมากต่อครั้ง แต่จะลำเลียงด้วยความเร็วน้อย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของวัสดุที่ต้องการลำเลียง
2. Dilute Phase Conveying Systems เป็นการลำเลียงวัสดุชนิดผง เมล็ด ที่ได้รับการออกแบบให้ใช้ปริมาณลมมาก และต้องใช้ความเร็วสูง แต่ปริมาณของสารที่ลำเลียงได้มีปริมาณน้อยต่อครั้ง ทั้งนี้เพราะความหนาแน่นของสารในท่อลำเลียงมีเบาบาง ซึ่งทั้งสองระบบดังกล่าวนี้ สามารถเลือกให้เหมาะสมกับความต้องการลำเลียงได้
วัสดุที่ใช้ได้กับระบบนิวเมติก
· น้ำตาล
· เม็ด
· ครีมเทียม
· แป้งมันแป้งสาลี
· ข้าว
· ข้าวสาลี
· รำข้าว
· แกลบ
· ถั่วเหลือง
· ถั่วต่างๆ
· เมล็ดธัญพืช
· เมล็ดทานตะวัน
· เปลือกโกโก้
· เชอร์รี่
· เมล็ดกาแฟ
เป็นต้น
เทคโนโลยีการลำเลียงแบบ นิวเมติก สามารถรองรับความต้องการของอุตสาหกรรมอาหารได้หลายประเภท ซึ่งมีความคล่องตัวสูงสามารออกแบบให้รองรับความต้องการได้ โดยขึ้นอยู่กับชนิดของวัสดุที่ต้องการลำเลียง ซึ่งมีให้เลือกทั้งระบบการไหลแบบหนาแน่น (DENSE PHASE) และ ระบบการไหลแบบเบาบาง (DILUTE PHASE) ซึ่งมีแนวทางการทำงานดังนี้
1. Dense Phase Conveying Systems เป็นการลำเลียงวัสดุชนิดผง เมล็ด ที่ได้รับการออกแบบให้ลำเลียงวัสดุเป็นกลุ่มก้อนภายใต้หลัก Positive Pressure โดยวัสดุถูกป้อนเข้าระบบ แล้วจะไหลผ่านท่อลำเลียงไปเก็บไว้ที่ภาชนะบรรจุหรือถังเก็บ ซึ่งจะสามารถลำเลียงวัสดุได้ปริมาณมากต่อครั้ง แต่จะลำเลียงด้วยความเร็วน้อย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของวัสดุที่ต้องการลำเลียง
2. Dilute Phase Conveying Systems เป็นการลำเลียงวัสดุชนิดผง เมล็ด ที่ได้รับการออกแบบให้ใช้ปริมาณลมมาก และต้องใช้ความเร็วสูง แต่ปริมาณของสารที่ลำเลียงได้มีปริมาณน้อยต่อครั้ง ทั้งนี้เพราะความหนาแน่นของสารในท่อลำเลียงมีเบาบาง ซึ่งทั้งสองระบบดังกล่าวนี้ สามารถเลือกให้เหมาะสมกับความต้องการลำเลียงได้
วัสดุที่ใช้ได้กับระบบนิวเมติก
· น้ำตาล
· เม็ด
· ครีมเทียม
· แป้งมันแป้งสาลี
· ข้าว
· ข้าวสาลี
· รำข้าว
· แกลบ
· ถั่วเหลือง
· ถั่วต่างๆ
· เมล็ดธัญพืช
· เมล็ดทานตะวัน
· เปลือกโกโก้
· เชอร์รี่
· เมล็ดกาแฟ
เป็นต้น
No comments:
Post a Comment