- อัตราความเร็วต่ำ ทำให้ไม่สามารถเพิ่มกำลังการผลิตได้เท่าที่ควร
- ต้องใช้พื้นที่มากในการติดตั้งเครื่องจักร เนื่องจากตัวเครื่องมีขนาดค่อนข้างใหญ่
- การทำความสะอาดค่อนข้างยาก ต้องแยกชิ้นส่วนที่เป็นตะแกรงแต่ละชั้นมาทำความสะอาด
- ตะแกรงมีการชำรุดบ่อยเนื่องจากมีการสั่นสะเทือนสูงในขณะที่ใช้งาน
- ต้องใช้เวลานานในการทำความสะอาดและประกอบกลับคืน
ซึ่งด้วยลักษณะการทำงานของเครื่องนั้นมีข้อจำกัดบางประการ จึงได้มีการพัฒนาเครื่องคัดแยกขนาดอีกลักษณะหนึ่งคือ Centrifugal Sifter ที่มีลักษณะของการทำงานโดยมีใบปาดหมุนด้วยความเร็วสูง
ทำให้วัสดุที่ถูกด้วยสกรูเข้าสู่ส่วนของการคัดขนาดมีการเคลื่อนที่ผ่านตะแกรงที่มีลักษณะเป็นท่อ ( 360 องศา ) วัสดุที่มีขนาดเล็กกว่าช่องตะแกรงจะผ่านลงสู่ทางออกด้านหนึ่ง สำหรับ วัสดุที่มีขนาดใหญ่กว่าช่องตะแกรงจะถูกผลักไปอีกด้านหนึ่ง จึงทำให้มีข้อเด่น
- ทำให้สามารถแยกขนาดได้อย่างรวดเร็ว ทำให้เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานได้มากขึ้น เนื่องจากพื้นที่ของการทำงานมีถึง 360 องศา จึงทำให้ได้ผลผลิตมากกว่าการตะแกรงร่อนทั่วไป
- ขนาดของเครื่องเล็กกว่า Deck Screener Sifter ในอัตราการทำงานที่เท่ากัน
- สามารถทำความสะอาดได้ง่าย ลดเวลาในการทำความสะอาดได้มาก
แต่ข้อจำกัดบางประการคือ
- สามารถคัดแยกขนาด ได้เพียง 2 ขนาดในการทำงาน 1 ครั้ง คือ วัสดุที่มีขนาดเล็กกว่าช่องตะแกรง และ วัสดุที่มีขนาดใหญ่กว่าช่องตะแกรงเท่านั้น
ปัจจุบันเครื่องคัดขนาดทั้งสองประเภทนี้สามารถผลิตได้ในประเทศไทย หากต้องการทดสอบประสิทธิภาพการทำงานสามารถติดต่อสอบถามได้ที่ SHAPE โทร 02 382 5100 ( 8 สายอัตโนมัติ )
No comments:
Post a Comment