Tuesday, January 30, 2007

การอุดตันที่เกิดขึ้นใน ฮอปเปอร์ หรือ ไซโล

การอุดตันในขณะลำเลียงขนถ่ายวัสดุออกจากไซโลหรือ ถังเก็บ ฯลฯ เป็นหนึ่งในอุปสรรคของการลำเลียงวัสดุชนิด Bulk Material ที่เป็นผง เมล็ด เกล็ด ฯลฯ ทำให้วัสดุเหล่านี้ไม่สามารถเคลื่อนที่ได้สะดวก ต้องสูญเสียเวลาในการทำงานปัญหาเหล่านี้มักจะพบได้ในขณะที่ขนถ่าย หรือ Discharge กล่าวคือ วัสดุสามารถไหลออกมาได้สักระยะแล้วเกิดการติดขัด หรือ หยุดนิ่งไป ไม่เคลื่อนที่

การอุดตันเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุเช่น คุณสมบัติการไหลของวัสดุ ( free flow ) การจัดเก็บในไซโลอาจเกิดการกดทับทำให้วัสดุเกิดการเกาะตัวแน่นมากขึ้น เป็นต้น ในขณะเดียวกันปริมาตรของวัสดุที่ได้ขนถ่ายออกไปแล้วก็เกิดเป็นโพรงขึ้นมา ทำให้ไม่สามารถเคลื่อนที่ได้อย่างต่อเนื่อง ลักษณะของการกดทับและทำให้เกิดการสะสมตัวในบรรจุภัณฑ์มักจะมี 3 ลักษณะ

1 Rat Holing มีลักษณะเหมือนโพรงรูหนู ซึ่งจะเป็นโพรงตรงกลางทะลุจากด้านบนลงสู่ด้านล่าง และเกิดการสะสมกดทับบริเวณโดยรอบ ทำให้ไม่สามารถ Discharge ได้สะดวก





2. Bridging มีลักษณะเป็นโพรงโค้ง คล้ายสะพานอยู่ด้านล่าง แต่จะเกิดการกดทับสะสมอยู่ด้านบนทำให้วัสดุไม่สามารถไหลลงมาได้




3. Segregation มีลักษณะแยกตัวจากกัน และวัสดุเกิดจับตัว ล็อกแน่น ทำให้ไม่ให้เคลื่อนที่ไปได้


ด้วยเหตุนี้เองจึงมีการพัฒนาเทคโนโลยีต่าง ๆ เพื่อเข้ามาช่วยแก้ปัญหาต่างๆ เหล่านี้ ซึ่งปัจจุบันก็มีหลายวิธี เช่น

• การออกแบบรูปทรง และมุมหัก ลาดเทเพื่อให้ Discharge จากไซโลให้มีประสิทธิภาพสูงสุด
• เพิ่มอุปกรณ์บางชนิดที่ช่วยให้เกิดการสั่น สะเทือน ช่วยเคาะ เขย่า หรือใช้แรงลมเป่าทำลายการเกาะตัวของวัสดุ หรือ อุปกรณ์ที่เคลื่อนที่ขยับขึ้นลง หรือ หมุนวน เพื่อให้วัสดุที่เกาะตัวกันนั้นแตกตัวทำให้เคลื่อนที่ออกมาได้

เทคโนโลยีดังกล่าวข้างต้น เป็นแนวทางเบื้องต้นให้เลือกใช้เพื่อแก้ไขปัญหาการอุดตันในระหว่างการขนถ่าย หรือ Discharge ใน กระบวนการลำเลียงและการผลิต

No comments: