Saturday, December 08, 2007
เครื่องผสม RIBBON MIXER - MADE IN THAILAND
Horizontal Ribbon Mixers
เครื่องผสมสำหรับวัสดุชนิดผงแห้ง แบบ HORIZONTAL RIBBON MIXERS แบบนี้มีมานานเกือบร้อยปีเป็นเครื่องผสมที่ใช้กันมากที่สุด ประกอบไปด้วยตัวผสมรูปตัวยู ( U ) ภายในมีใบกวน เป็นตัวที่ทำให้วัสดุผสมเคลื่อนที่และผสมเป็นเนื้อเดียวกัน ตัวถังผสมส่วนใหญ่จะมีขนาดเล็กรูปตัวยูเป็นเเบบที่นิยมทีสุด สำหรับการพัฒนาล่าสุดนั้นมีการออกแบบให้สัดส่วนของความยาวกับเส้นผ่านศูนย์กลางมีขนาดน้อยลง ตัวเครื่องผสมที่สั้นลงและอ้วนขึ้น ทำให้การผสมเร็วขึ้น
ใบกวนอาจมีลักษณะเป็น Interrupted Spirals หรือ Continuous Ribbon หรือ Single / Double Helixes แต่ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบใดก็ตาม ใบกวนที่ดีต้องสามารถให้วัสดุเคลื่อนที่ไปที่ปลายทางออกจากเครื่องผสมได้ด้วย
นอกจากหน้าที่หลัก คือ การผสมวัสดุเข้าด้วยกันแล้ว คุณลักษณะของเครื่องผสมแบบนี้ คือสามารถเข้าไปทำความสะอาดได้ง่าย ไม่ว่าจะเป็นทางเปิดด้านบน หรือ ด้านข้าง ด้วยความสูงที่กะทัดรัด ทำให้สามารถติดตั้งเครื่องผสมนี้ได้ในอาคารชั้นเดียว การผสมที่เป็นไปอย่างนุ่มนวล ทำให้วัสดุผสมไม่เสียหาย และยังสามารถติดตั้งอุปกรณ์เสริมได้หลายชนิด เช่น Discharge Valve และระบบหล่อเย็น - ร้อน ให้กับตัวถังผสม การที่เครื่องผสมแบบนี้สามารถผสมวัสดุได้หลายชนิด จึงทำให้เป็นที่นิยมใช้กันมาก ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมอาหาร ยา และ สารเคมี สามารถใช้เป็นการผสมแบบต่อเนื่องหรือ เป็นแบบครั้ง ๆ ไป
สำหรับเครื่องผสมแบบ Ribbon Mixer นี้ มีเครื่องสาธิต สามารถนำผลิตภัณฑ์ของท่านมาทดสอบได้ที่ Test Plant ณ. บริษัท Shape
Thursday, December 06, 2007
Mixer กับ Blender เหมือนกันหรือต่างกันอย่างไร
เหมือนกันหรือต่างกันอย่างไร
Mixer กับ Blender เป็นการผสมเช่นกัน เพียงแต่มีข้อแตกต่างในเรื่องของลักษณะของการผสมของเครื่องจักร ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
Mixer เป็นเครื่องจักรที่ตัวเครื่องผสมจะอยู่กับที่ การผสมเข้ากันเกิดจากการเคลื่อนไหวของใบกวน ตัวอย่าง ของเครื่องผสมแบบนี้ เช่น Ribbon , Plough และ Paddle Mixer
Blender เป็นเครื่องจักรที่การผสมเข้ากันเกิดจากการเคลื่อนไหวของตัวเครื่องผสมเอง โดยไม่มีการเคลื่อนไหวของใบกวน ตัวอย่างของเครื่องผสมแบบนี้ เช่น Drum Double Cone และ Blender
ซึ่งเครื่องผสมทั้งสองแบบนี้ ก็เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายในท้องตลาด ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับลักษณะของการใช้งาน
Monday, April 09, 2007
Dust Explosion การระเบิดของผง หรือ ฝุ่น
การระเบิดของผง หรือ ฝุ่น
คำนี้ อาจจะไม่ค่อยคุ้นเคยกันในประเทศไทย แต่สำหรับต่างประเทศแล้ว dust explosion เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอยู่บ่อย ๆ และ เป็นที่รู้จักกันดี ดังนั้น ในต่างประเทศจะมีการพัฒนาอุปกรณ์ป้องกันการระเบิดของผง ฝุ่นเพื่อป้องกันอันตรายอันอาจเกิดขึ้นได้โดยวัสดุที่สามารถก่อให้เกิดการระเบิดของฝุ่นได้คือ วัสดุอินทรีย์ธรรมชาติ วัสดุอินทรีย์สังเคราะห์ ฯลฯ ซึ่งปรากฏการณ์นี้เรียกกันว่า Dust Explosion ซึ่งเป็นอุบัติเหตุที่ค่อนข้างรู้จักกันน้อยในประเทศไทย แต่ก็สามารถเกิดขึ้นได้ถี่มากขึ้นเรื่อย ๆ โดยแรงระเบิดก่อให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินจำนวนมาก การระเบิดเกิดจากปฏิกิริยาเคมีที่นำไปสู่การเพิ่มความดัน หรือแรงดันอย่างมหาศาลแล้วปลดปล่อยพลังงานจำนวนมากออกมาในทันที แต่สาร ประกอบเคมีบางชนิดไม่ก่อให้เกิดการระเบิดของฝุ่นได้เช่น คาร์บอเนต ซิลิเกต ฯลฯ ดังนั้นในอุตสาหกรรมผลิตปูนซีเมนต์ เหมืองทราย เหมืองปูนขาว จึงไม่มีความเสี่ยงในการเกิดระเบิดได้
การระเบิดเริ่มต้นจากชิ้นส่วนของอุปกรณ์ เช่น เครื่องโม่ เครื่องผสม เครื่องเป่าแห้ง ไซโคลน hopper Silo ท่อดูดอากาศ และระบบการส่งด้วยลม เป็นต้น ดังนั้นจึงมีการพัฒนาเครื่องมือป้องกัน
การระเบิดของฝุ่นขึ้นโดยนำไปติดตั้งร่วมกับอุปกรณ์ดังกล่าวเพื่อความปลอดภัยในการทำงาน
.
Wednesday, April 04, 2007
Turbine Vibrators
- เสียงเบา
- มีขนาดเล็กกว่า Ball Vibrator เมื่อเทียบที่ การสั่นสะเทือนเท่ากัน
- ประหยัดพลังงานกว่า เพราะใช้ แรงลม เพียง 1 ใน 3 ของ Ball Vibrator เท่านั้น
- ไม่มีหมอกควันของไอน้ำมัน เนื่องจากไม่ต้องใช้น้ำมันหล่อลื่น ทำให้สะอาดในขณะที่ทำง
- ทนทาน ดูแลรักษาง่าย
Flow Aids
Flow Aids
Flow Aids หรือ อุปกรณ์ที่ช่วยให้วัสดุชนิด ผง เกล็ด เมล็ด ที่บรรจุในฮอปเปอร์ หรือไซโลสามารถเคลื่อนที่และไหลออกมาได้ง่าย โดยอาศัยการสั่นสะเทือนทำให้เกิดการจัดเรียงตัวใหม่ของวัสดุ ซึ่งโดยทั่วไปวัสดุที่เก็บในฮอปเปอร์หรือ ไซโล มักเกิดปัญหาติดขัดในขณะขนถ่ายวัสดุ (Discharge) ทำให้สูญเสียเวลาทำงาน ดังนั้นเมื่อเกิดปัญหานี้ส่วนใหญ่มักแก้ไขด้วยการใช้ค้อนทุบบริเวณโคน (Cone) ของฮอปเปอร์ เพื่อให้เกิดการสั่นสะเทือนทำให้วัสดุเคลื่อนตัวออกมา แต่ถ้าวัสดุนั้นเกิดปัญหาติดขัดบ่อยครั้งการแก้ปัญหาด้วยการทุบอาจเป็นสาเหตุทำให้ ฮอปเปอร์แตก หรือร้าวได้ ซึ่งปัญหาการติดขัดหรืออุดตันของวัสดุเกิดจากหลายสาเหตุขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของวัสดุแต่ละชนิด เช่น วัสดุบางชนิดจะติดขัดเป็นโพรงโค้งคล้ายสะพานบริเวณโคนของ ฮอปเปอร์ (Bridging) บางชนิดติดขัดบริเวณโดยรอบแต่จะมีโพรงคล้ายรูหนู ตรงกลางทะลุจากด้านบนลงล่าง (Rat Holing) ฯลฯ ดังนั้นจึงต้องพิจารณาลักษณะการไหลของวัสดุแต่ละชนิดประกอบกับการเลือกใช้ Flow Aids ที่เหมาะสมกัน
.
Flow Aids จึงเป็นอุปกรณ์อีกชนิดหนึ่งที่เข้ามามีส่วนช่วยในกระบวนการถ่ายวัสดุออกจาก ฮอปเปอร์ ซึ่งปัจจุบันมักพบว่าในงานอุตสาหกรรมการผลิตต่างๆ มีการนำ Flow Aids มาใช้กันอย่างแพร่หลาย เช่น
- . Pneumatic Ball Vibrator เป็นอุปกรณ์ที่ใช้แรงลมทำให้เกิดการสั่นสะเทือนการใช้งานง่าย ทนทาน ไม่ต้องบำรุงรักษาบ่อย มีให้เลือกหลายขนาดตามลักษณะของการใช้งาน
- Pneumatic Piston Vibrator เป็นอุปกรณ์ที่ใช้แรงลมช่วยให้เกิดการกระแทกของลูกสูบภายในทำให้เกิดเสียงดังจากแรงสั่นสะเทือน ซึ่งเหมาะกับวัสดุที่มีการติดขัด และเกิดการกดทับอัดแน่นจนการสั่นสะเทือนแบบ Ball Vibrator ทั่วไปไม่สามารถใช้ได้ผล
- Rotary Electric Vibrator เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ไฟฟ้าสำหรับการสั่น สะเทือน ซึ่งมีแรงสั่นสะเทือนสูง เสียงเงียบในขณะทำงาน สามารถนำไปติดตั้ง ใช้งานได้ในหลาย ๆ ที่ แต่ขนาดของ Rotary Electric Vibrator จะมีขนาดใหญ่และมีน้ำหนักมากกว่า Vibrator ทั้งสองชนิดที่ได้กล่าวมาแล้ว
ในกรณีที่โรงงานมีการติดตั้ง Ball Vibrator หรือ Piston Vibrator หลาย ๆ ตัวในบริเวณที่ใกล้กัน และเปิดทำงานพร้อมกัน มักประสบปัญหา คือ เกิดเสียงดัง ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายทางเสียงต่อผู้ปฏิบัติงาน และอาจทำให้ฮอปเปอร์แตกหรือร้าวได้เช่นกัน ดังนั้นจึงมีการพัฒนา Vibrator ชนิด Turbine Vibrator ให้มีขนาดเล็ก เสียงไม่ดัง โดยสามารถนำไปใช้แทน Pneumatic Ball Vibrator ได้โดยไม่ต้องเปลี่ยนแปลงอุปกรณ์ร่วมใด ๆ
นอกจากการเลือกขนาดและจำนวน Flow Aids ให้เหมาะสมกับการถ่ายวัสดุออกจาก ฮอปเปอร์หรือไซโลแล้วยังมีปัจจัยบางประการที่ต้องนำพิจารณาร่วมด้วย เช่น รายละเอียดขนาด รูปร่างความลาดเอียงของโคน ฮอปเปอร์หรือไซโลที่ใช้บรรจุ บริเวณที่จะติดตั้งรวมถึงระยะเวลาการทำงานของ Flow Aids เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อให้การ Discharge เป็นไปอย่างต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพมากที่สุด
.
Tuesday, April 03, 2007
วัสดุประเภท Bulk Material ชนิด ผง เกล็ด หรือ เมล็ดที่นำไปใช้งานอุตสาหกรรมมักจะผ่านขบวนการคัดแยกขนาด เพื่อนำเข้าสู่ขั้นตอนการผลิต หรือขบวนการบรรจุก่อนจำหน่ายออกสู่ผู้บริโภคซึ่งนับว่าเป็นอีกหนึ่งขั้นตอนที่มีความสำคัญ ดังนั้นการเลือกเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ที่จะนำมาใช้ในการคัดแยกขนาดจึงคำนึงถึงเทคโนโลยีที่รองรับการใช้งานเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด และอีกปัจจัยหนึ่งที่นำมาประกอบการพิจารณาก่อนตัดสินใจเลือกใช้ คือ การทำความสะอาด
ด้วยเหตุนี้เองเทคโนโลยีการคัดขนาดวัสดุประเภท ผง เกล็ด เมล็ด หรือการ Sieve ในปัจจุบันจึงมีการพัฒนาการใช้งานให้สอดคล้องกับแนวคิด แบบ Easy Clean Design โดยให้ความสำคัญในเรื่องการทำความสะอาดได้ง่าย ลดการปนเปื้อนในขณะที่มีอัตราการทำงานสูง
EZ Sifter K650 เป็นเครื่องคัดแยกขนาดที่ใช้เทคโนโลยีแบบ Cantilever (แขนเหวี่ยง) หรือ Rotary Sifter ซึ่งหลักการทำงานของ EZ Sifter K650 คือ การหมุนวนของแขนใบปาดที่หมุนรอบแกนได้ถึง 360 องศาด้วยความเร็วสูง ทำให้วัสดุที่มีขนาดเล็กกว่ารูตะแกรงซึ่งเป็นตัวกำหนดขนาดที่ต้องการไหลผ่านตะแกรงเข้าสู่ระบบถัดไป ส่วนวัสดุที่มีขนาดใหญ่กว่ารูของตะแกรงจะถูกผลักไปอีกด้านหนึ่งของเครื่องเพื่อนำกลับไปบดใหม่อีกครั้งหรือนำไปสู่อีกระบบหนึ่งได้ ทำให้การคัดร่อนขนาดทำได้อย่างรวดเร็ว เงียบ ไม่สั่นสะเทือนมาก การใช้งาน การทำความสะอาด และการบำรุงรักษา ได้ง่าย
นอกจากนี้เครื่อง EZ SIFTER K650 ยังมีข้อดีตรงที่สามารถติดตั้งได้ในพื้นที่ที่จำกัด เนื่องจากมีขนาดเล็ก แต่มีประสิทธิภาพในการทำงานสูง
EZ SIFTER เหมาะสำหรับการคัดแยกขนาดของแป้ง น้ำตาล นมผง เคมีภัณฑ์ ผงพลาสติก ฯลฯ ซึ่งวัสดุที่นำมาใช้ทำตะแกรงมีทั้งไนล่อน และ สแตนเลทขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งานแต่ละประเภท เช่น หากวัสดุที่ต้องการใช้มีขนาดเล็กมาก ด้วยข้อจำกัดของการเจาะรูของตะแกรงสแตนเลทจึงไม่สามารถรองรับงานในลักษณะนี้ได้ ดังนั้นตะแกรงไนล่อนจึงเป็นทางเลือกที่ดีอีกทางหนึ่งเพียงแต่อายุการใช้งานจะน้อยกว่าสแตนเลท
ถึงแม้การคัดแยกขนาดแบบ Centrifugal Sifter จะมีข้อดีหลายประการ แต่ก็ยังมีข้อจำกัดบางอย่าง คือ การคัดแยกขนาดใน 1 เครื่องจะคัดแยกได้เพียง 2 ขนาดเท่านั้น คือ ขนาดที่เล็กกว่ารูตะแกรง และ ขนาดที่ใหญ่กว่ารูตะแกรง แต่หากต้องการคัดแยกขนาดมากกว่า 2 ขนาดก็สามารถทำได้ โดยการออกแบบการติดตั้งเครื่องคัดแยกขนาดเพิ่มขึ้นเพื่อให้เหมาะสมกับแต่ละประเภทการใช้งาน
ระบบกระพ้อลำเลียง แบบ Z เป็นเทคโนโลยีการลำเลียงที่ได้รับการพัฒนามาจาก ระบบกระพ้อลำเลียง ( Bucket Elevators Systems ) ชนิดที่สามารถลำเลียงได้เฉพาะแนวตั้ง ( Verticle ) ผสมผสานกันระหว่างการลำเลียงในแนวนอน ( Horizontal ) โดยสามารถรองรับอัตราการลำเลียงวัสดุได้ตามที่ต้องการ
โดยปกติแล้ว ในประเทศไทยมักจะพบ กระพ้อลำเลียงที่ลำเลียงได้เฉพาะแนวตั้ง ซึ่งจะนิยมใช้ในอุตสาหกรรมเกษตร เช่น ลำเลียงข้าวสาร เมล็ดธัญญาพืช ต่าง ๆ โดยใช้ลำเลียงขึ้นที่สูงเพื่อการจัดเก็บในไซโล
ในปัจจุบัน กระพ้อลำเลียงสามารถพัฒนาเพื่อรองรับการใช้งานในหลาย ๆ รูปแบบ เริ่มตั้งแต่ การลำเลียงวัสดุขึ้นที่สูง เพื่อการจัดเก็บ หรือ เพื่อการบรรจุ เนื่องจาก การลำเลียงด้วยกระพ้อเป็นการลำเลียงวัสดุที่ไม่ทำให้วัสดุเกิดการแตกหัก ดังนั้นจึงเหมาะสำหรับลำเลียงวัสดุที่เปราะบาง แตกหักง่าย เช่น ข้าว ถั่ว มันฝรั่งทอดกรอบ ขนมปังกรอบ เกร็ดขนมปังกรอบ ผงปรุงรส อาหารสุนัขชนิดเม็ด เป็นต้น
กระพ้อลำเลียง แบบ " Z " มีข้อดี คือ
- สามารถลำเลียงด้วยอัตราเร็วตามต้องการ
- สามารถเลือกและ กำหนดจุดที่ต้องการจะลำเลียงได้หลายจุด
- โครงสร้างแข็งแรง ทนทาน สามารถลำเลียงได้ โดยไม่ต้องจำกัดความสูง และ ความยาวของการลำเลียง
- ทำความสะอาดได้ง่าย
- อายุการใช้งานนาน
- เลือกใช้วัสดุชนิด Food Grade ได้
- สามารถผลิตได้ในประเทศไทย
Wednesday, March 28, 2007
Angle of Repose - มุมกอง - มุมทรงตัว เป็นมุมที่ชันที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับแนวนอน แล้ววัสดุนั้น ๆ ไม่ไหลลง หรือ เคลื่อนลงมา
Angle of Repose - มุมกอง - มุมทรงตัว เป็นคุณสมบัติอีกประการหนึ่งของวัสดุ ประเภท Bulk Material ซึ่งเราจะสังเกตุเห็นได้จาก เมื่อเทวัสดุชนิด ผง เกล็ด ( แห้ง ) ลงบนพื้น จะเห็นว่า วัสดุประเภทจะกองเป็นมุมแหลมเหมือนภูเขา ซึ่งมุมดังกล่าวนี้จะมีความสัมพันธ์กับกับ ค่า Bulk Density พื้นผิวของวัตถุ สัมประสิทธิ์แรงเสียดทาน
ด้วยคุณสมบัตินี้เอง ทำให้การออกแบบ อุปกรณ์การจัดเก็บ เช่น ไซโล ฮอปเปอร์ ต้องมีขนาดที่รองรับปริมาณการจัดเก็บได้อย่างเหมาะสม ทั้งนี้ เนื่องจาก วัสดุจะมีมุมกอง เป็นยอดแหลม ทำให้เสียปริมาตร ด้านข้าง ไปจำนวนหนึ่ง ดังนั้นจึงควรออกแบบให้ ไซโล หรือ ฮอปเปอร์ นั้น ๆ มีปริมาตรที่ชดเชยกับพื่นที่ที่หายไปด้วย และโดยปกติแล้ว ไซโล ปหรือ ฮอปเปอร์นั้น จะมีมุมที่ลาดเอียงเพื่อให้วัสดุที่จัดเก็บสามารถไหลออกมาจาก ไซโล หรือ ฮอปเปอร์ ได้ดียิ่งขึ้น
หมายเหตุ : วัสดุที่เบา หรือมีค่า Bulk density ที่น้อย มักจะมีมุมกอง ที่แหลม หรือ ชัน มากกว่า วัสดุที่หนัก หรือ มีค่า bulk Density ที่มาก
Tuesday, March 20, 2007
เทคโนโลยีการลำเลียงแบบ นิวเมติก สามารถรองรับความต้องการของอุตสาหกรรมอาหารได้หลายประเภท ซึ่งมีความคล่องตัวสูงสามารออกแบบให้รองรับความต้องการได้ โดยขึ้นอยู่กับชนิดของวัสดุที่ต้องการลำเลียง ซึ่งมีให้เลือกทั้งระบบการไหลแบบหนาแน่น (DENSE PHASE) และ ระบบการไหลแบบเบาบาง (DILUTE PHASE) ซึ่งมีแนวทางการทำงานดังนี้
1. Dense Phase Conveying Systems เป็นการลำเลียงวัสดุชนิดผง เมล็ด ที่ได้รับการออกแบบให้ลำเลียงวัสดุเป็นกลุ่มก้อนภายใต้หลัก Positive Pressure โดยวัสดุถูกป้อนเข้าระบบ แล้วจะไหลผ่านท่อลำเลียงไปเก็บไว้ที่ภาชนะบรรจุหรือถังเก็บ ซึ่งจะสามารถลำเลียงวัสดุได้ปริมาณมากต่อครั้ง แต่จะลำเลียงด้วยความเร็วน้อย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของวัสดุที่ต้องการลำเลียง
2. Dilute Phase Conveying Systems เป็นการลำเลียงวัสดุชนิดผง เมล็ด ที่ได้รับการออกแบบให้ใช้ปริมาณลมมาก และต้องใช้ความเร็วสูง แต่ปริมาณของสารที่ลำเลียงได้มีปริมาณน้อยต่อครั้ง ทั้งนี้เพราะความหนาแน่นของสารในท่อลำเลียงมีเบาบาง ซึ่งทั้งสองระบบดังกล่าวนี้ สามารถเลือกให้เหมาะสมกับความต้องการลำเลียงได้
วัสดุที่ใช้ได้กับระบบนิวเมติก
· น้ำตาล
· เม็ด
· ครีมเทียม
· แป้งมันแป้งสาลี
· ข้าว
· ข้าวสาลี
· รำข้าว
· แกลบ
· ถั่วเหลือง
· ถั่วต่างๆ
· เมล็ดธัญพืช
· เมล็ดทานตะวัน
· เปลือกโกโก้
· เชอร์รี่
· เมล็ดกาแฟ
เป็นต้น
Saturday, March 17, 2007
.
การลำเลียงโดยใช้หลักการสั่นสะเทือน หรือ Vibration นั้นเป็นอีกเทคโนโลยีหนึ่งที่ใช้ได้ดีกับวัสดุแบบ Bulk Material ทั้งนี้เนื่องจากวัสดุชนิด ผง เมล็ด เกล็ด ต่าง ๆ เช่น ครีมเทียม นมผง แป้ง ชนิดต่าง ๆ เกล็ดขนมปังกรอบ ผงปรุงรส เมล็ดธัญญาพืช ฯลฯ วัสดุต่าง ๆ เหล่านี้มีคุณสมบัติทางกายภาพที่แตกต่างกัน เช่น Bulk Density (ความหนาแน่นจำเพาะของวัสดุ) ความคม ความเปราะบาง อัตราการไหล เป็นต้น
ด้วยเหตุนี้เองทำให้การลำเลียงบางประเภทต้องนำเอาหลักการสั่นสะเทือนมาประยุกต์ใช้กระบวนการลำเลียง การชั่งน้ำหนัก การบรรจุ การร่อนคัดขนาด การคัดแยกวัสดุ และสามารถรองรับความต้องการได้กับอุตสาหกรรมหลายประเภทอย่างมากมาย ดังนั้นจึงมีการพัฒนาเครื่องมือ หรือ อุปกรณ์ต่าง ๆ มาใช้งาน เป็น VIBRATORY EQUIPMENT หลายประเภท เช่น Vibratory Conveyor , Vibratory Feeder , Vibratory Screener , Vibratory Table เป็นต้น
Thursday, March 15, 2007
Iris Diaphragm Valves เป็นวาล์วที่ใช้ควบคุมปริมาณการไหลผ่านของวัสดุชนิดผง เกล็ด เมล็ดได้ตามที่กำหนด โดยการเปิดและปิดวาล์วได้รับหลักการออกแบบให้ทำงานเช่นเดียวกับม่านตาของมนุษย์
ซึ่ง IDV ประกอบด้วยวงแหวนของทั้งสองด้าน(รูปที่ 1) ซึ่งขอบของวงแหวนด้านบนจะยึด Diaphragmไว้ ในขณะเดียวกันขอบวงแหวนด้านล่างจะหมุนวนให้เกิดเกลียวปิดหรือเปิดช่องได้ตามต้องการ(รูปที่ 2) และเมื่อหมุนวนที่ 180 องศา จะสามารถปิดช่องได้อย่างสมบูรณ์คล้ายกับม่านตาของม่านตาของคน(รูปที่ 3) ในกรณีที่ Diaphragm มีชั้นซ้อนกัน Diaphragm ตัวกลางเท่านั้นที่จะหมุนวน และเมื่อถึงตำแหน่ง 180 ๐ Diaphragm จะปิดอย่างสมบูรณ์เช่นเดียวกับ Diaphragm ชั้นเดียว (รูปที่ 4)
ข้อดีของ IDV คือ
1. น้ำหนักเบา
2. สามารถควบคุมการเปิดและปิดวาล์วได้อย่างสมบูรณ์
3. ช่วยลดปัญหาการฟุ้งกระจายของวัสดุ
4. ไม่มีปัญหาเรื่องการติดขัดขณะที่ใช้งาน เหมาะกับผลิตภัณฑ์ ชนิด ผง เกล็ด และ เมล็ด
5. สามารถใช้กับผลิตภัณฑ์ที่เปราะบาง หรือ แตกหักได้ง่าย
6. ใช้งานง่าย ปลอดภัยและทนทาน
7. สามารถเลือกใช้ได้ทั้งชนิด Hand , Pneumatic และ Motorised
8. มีอายุการใช้งานนาน ดูแลรักษาง่าย
Vertiveyor สามารถออกแบบให้ทำงานได้ทั้ง 2 ทาง คือ ขึ้น และ ลง
Vertiveyor สามารถทำงานร่วมกับอุปกรณ์ลำเลียงชนิดอื่น เช่น เชื่อมต่อกับสายพานการลำเลียง ชนิด Belt หรือ Roller ที่มีระดับความสูงที่ต่างกันด้วยระบบอัตโนมัติ ทำให้ช่วยลดเวลา และประหยัดค่าใช้จ่ายในการขนส่ง อีกทั้งยังเพิ่มประสิทธิภาพการลำเลียงได้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
Vertiveyor มีโครงสร้างที่แข็งแรงทนทาน สามารถติดตั้งได้ในพื้นที่ที่จำกัด และ สามารถผลิตได้ในประเทศไทย
Thursday, February 01, 2007
การบริการพื้นที่สำหรับการจัดเก็บถุง Jumbo ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด จำเป็นต้องคำนึงถึง มาตรฐานการบรรจุ ทั้งนี้หากถุง Jumbo มีรุปร่างแบบBanana Shape แล้ว จะทำให้เปลืองพื้นที่ในการจัดเก็บ มีอันตรายขณะย้ายถุง Jumbo อาจแตกหรือ ขาดเนื่องจากน้ำหนัก ไม่สม่ำเสมอ
การบรรจุ Jumbo โดยทั่วไปและ ถุงที่มี Liner ด้านในหากการเริ่มต้นบรรจุถุงมีรูปร่างพับซ้อนหรือไม่ยืดตัวให้ตึงแล้ว การบรรจุก็จะไม่ได้มาตรฐาน เนื่องจากพื้นที่ถุงด้านในไม่ได้ถูกยึดขยายให้ได้รูปทรงที่ถูกต้อง
การซ้อนถุง Jumbo ขึ้นหลาย ๆ ชั้น นอกจากการใช้พื้นที่ให้ได้ประโยชน์สูงสุดแล้วสิ่งที่ต้องตระหนัก คือ ความปลอดภัยในการทำงาน ความสะดวกในการขนย้าย หากปราศจากทั้งสองประการนี้แล้ว การบริหารพื้นที่การจัดเก็บก็ยังไม่ได้ประสิทธิภาพที่แท้จริง
ปัญหาเรื่องการบรรจุถุง Jumbo สามารถแก้ไขได้ สนใจ สอบถามรายละเอียดได้ที่ SHAPE
Wednesday, January 31, 2007
ในกระบวนการผลิตอาหารโดยทั่วไป วัตถุดิบที่ใช้มักจะมีหลายประเภทแตกต่างกันไป ดังนั้น การควบคุม ความสะอาด และการปนเปื้อนจึงเป็นปัจจัยสำคัญ อีก ประการหนึ่งที่ต้องนำมาพิจารณา ซึ่งการปนเปื้อนมีหลาประเภทดังนี้
- การปนเปื้อนทางกายภาพ เช่น ฝุ่นละออง เศษไม้ เศษโลหะ และ เศษวัสดุอื่น ๆ อันอาจเกิดจาก การปนเปื้อนของเศษวัสดุต่าง ๆ ที่มาจากวัตถุดิบ เครื่องมือหรือ การแตกหักของภาชนะ หรือ หลอดไฟ ตกลงสู่วัตถุดิบ
- การปนเปื้อนทางด้านเคมี เช่น ยาฆ่าแมลง น้ำยาทำความสะอาด สารเคมีฆ่าเชื้อ น้ำมันหล่อลื่น( จาระบี ) สารเคมีที่ใช้ในการเติมลงอาหารมีปริมาณเกินกว่ากฎหมายกำหนด
- การปนเปื้อนทางด้านจุลินทรีย์ เช่น แบคทีเรีย ไวรัส และ เชื้อรา อันอาจเกิดจาก เครื่องมือ เครื่องใช้ที่ไม่สะอาด และการควบคุมการผลิตไม่ดีพอ ทำให้เกิดการปนเปื้อนระหว่างกระบวนการผลิตและการขนส่ง ตลอดจนการปฏิบัติงานของพนักงานไม่ถูกสุขลักษณะ
ในอุตสาหกรรมการผลิตอาหาร วัตถุดิบชนิดผง เกล็ด เมล็ด มีมากมายหลายชนิด ดังนั้น การลำเลียงวัสดุดังกล่าวต้องคำนึงถึงการปนเปื้อนระหว่างวัตถุดิบด้วยกัน บางครั้งการปนเปื้อนระหว่างวัตถุดิบด้วยกันอาจมีผลทำให้คุณสมบัติบางประการเช่น รสชาติ กลิ่น และ สีของผลิตภัณฑ์ผิดเพี้ยนไปได้
อุปกรณ์การลำเลียงจึงต้องสอดคล้องและรองรับการใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น จัดแบ่งอุปกรณ์การลำเลียงออกเป็นสัดส่วนไม่ปะปนกันหรือ อุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกันต้องสามารถทำความสะอาดได้ง่าย ไม่มีการตกค้างของวัสดุที่ลำเลียงไปแล้ว ทำให้ลดการสะสมของจุลินทรีย์ต่าง ๆ ดังนั้นการออกแบบเครื่องมือ อุปกรณ์ การลำเลียงต้องพิจารณาเรื่องของการทำความสะอาด ประกอบติดตั้ง ซ่อมบำรุงได้ง่าย ทั้งนี้เพื่อความสะดวก รวดเร็วในการทำงานเพื่อประสิทธิภาพสูงสุด
Tuesday, January 30, 2007
การอุดตันในขณะลำเลียงขนถ่ายวัสดุออกจากไซโลหรือ ถังเก็บ ฯลฯ เป็นหนึ่งในอุปสรรคของการลำเลียงวัสดุชนิด Bulk Material ที่เป็นผง เมล็ด เกล็ด ฯลฯ ทำให้วัสดุเหล่านี้ไม่สามารถเคลื่อนที่ได้สะดวก ต้องสูญเสียเวลาในการทำงานปัญหาเหล่านี้มักจะพบได้ในขณะที่ขนถ่าย หรือ Discharge กล่าวคือ วัสดุสามารถไหลออกมาได้สักระยะแล้วเกิดการติดขัด หรือ หยุดนิ่งไป ไม่เคลื่อนที่
การอุดตันเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุเช่น คุณสมบัติการไหลของวัสดุ ( free flow ) การจัดเก็บในไซโลอาจเกิดการกดทับทำให้วัสดุเกิดการเกาะตัวแน่นมากขึ้น เป็นต้น ในขณะเดียวกันปริมาตรของวัสดุที่ได้ขนถ่ายออกไปแล้วก็เกิดเป็นโพรงขึ้นมา ทำให้ไม่สามารถเคลื่อนที่ได้อย่างต่อเนื่อง ลักษณะของการกดทับและทำให้เกิดการสะสมตัวในบรรจุภัณฑ์มักจะมี 3 ลักษณะ
1 Rat Holing มีลักษณะเหมือนโพรงรูหนู ซึ่งจะเป็นโพรงตรงกลางทะลุจากด้านบนลงสู่ด้านล่าง และเกิดการสะสมกดทับบริเวณโดยรอบ ทำให้ไม่สามารถ Discharge ได้สะดวก
2. Bridging มีลักษณะเป็นโพรงโค้ง คล้ายสะพานอยู่ด้านล่าง แต่จะเกิดการกดทับสะสมอยู่ด้านบนทำให้วัสดุไม่สามารถไหลลงมาได้
ด้วยเหตุนี้เองจึงมีการพัฒนาเทคโนโลยีต่าง ๆ เพื่อเข้ามาช่วยแก้ปัญหาต่างๆ เหล่านี้ ซึ่งปัจจุบันก็มีหลายวิธี เช่น
• การออกแบบรูปทรง และมุมหัก ลาดเทเพื่อให้ Discharge จากไซโลให้มีประสิทธิภาพสูงสุด
• เพิ่มอุปกรณ์บางชนิดที่ช่วยให้เกิดการสั่น สะเทือน ช่วยเคาะ เขย่า หรือใช้แรงลมเป่าทำลายการเกาะตัวของวัสดุ หรือ อุปกรณ์ที่เคลื่อนที่ขยับขึ้นลง หรือ หมุนวน เพื่อให้วัสดุที่เกาะตัวกันนั้นแตกตัวทำให้เคลื่อนที่ออกมาได้
เทคโนโลยีดังกล่าวข้างต้น เป็นแนวทางเบื้องต้นให้เลือกใช้เพื่อแก้ไขปัญหาการอุดตันในระหว่างการขนถ่าย หรือ Discharge ใน กระบวนการลำเลียงและการผลิต
Monday, January 29, 2007
โดยปกติแล้ว การลำเลียงขนถ่ายวัสดุออกจากถุง big bag นั้น ใช้กฎของแรงโน้มถ่วงของโลก กล่าวคือ วัสดุย่อมไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ ซึ่งเป็นธรรมชาติของการเคลื่อนที่ของวัตถุ แต่หากวัสดุที่บรรจุอยู่ในถุงจัมโบ้นั้น เป็นวัสดุประเภท Bulk Material หรือ วัสดุประเภท ผง เกล็ด เมล็ด แล้ว จะพบว่า การถ่ายวัสดุออกจากถุงจัมโบ้นั้นมักจะพบปัญหา การฟุ้งกระจายในขณะที่ปฏิบัติงาน ทำให้ควบคุมความสะอาดได้ยาก และในบางครั้งผู้ปฏิบัติงานอาจใช้รอก หรือ รถ โฟล์คลิฟท์ หิ้วหูถุง Big Bag ให้ลอยตัวสูงขึ้น และเจ้าหน้าที่ยืนอยู่ด้านล่างแล้วปลดปมใต้ถุง เพื่อนำเอาวัสดุที่บรรจุไปใช้งานนั้น ซึ่งการปฏิบัติงานในลักษณะเช่นนี้ อาจก่อให้เกิดอันตรายกับเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานได้ หากความแข็งแรงของหูถุงไม่เพียงพอในขณะที่ยกขึ้นลอยในอากาศอาจทำให้ถุงหลุดร่วง หล่นทับเจ้าที่ในขณะที่ปฏิบัติงานได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องระมัดระวังเป็นอย่างมาก
ดังนั้นจึงมีการพัฒนาและคิดค้นเทคโนโลยีการขนถ่าย ( Discharge ) เข้ามาใช้ในอุตสาหกรรมการผลิต โดยพัฒนาเป็น Shape Big Bag Discharger เครื่องลำเลียงขนถ่ายที่ได้รับการออกแบบเพื่อรองรับการใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูง ประกอบด้วย ขั้นตอนการทำงานที่สะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย อีกทั้งยังสามารถออกแบบให้ใช้งานร่วมกับระบบการลำเลียงอื่น ๆ เช่น สกรูคอนเวเยอร์ vibratory conveyor ระบบนิวเมติก ฯลฯ ได้โดยง่าย นอกจากนี้ Shape Big Bag Discharger ยังได้รับการออกแบบให้มีโครงสร้างที่แข็งแรง มั่นคง และ ปลอดภัยต่อผู้ปฏิบัติงานอีกด้วย
Shape Big Bag Discharger สามารถผลิตได้ในประเทศไทย ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย รองรับการใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ สามารถควบคุมอัตราการไหลของวัสดุได้ตามต้องการ เนื่องจากวัสดุบางชนิดมีอัตราการไหลที่เร็ว และ ช้าที่ต่างกัน อันเนื่องจากคุณสมบัติทางกายภาพของวัสดุนั้น ๆ บางครั้งปัญหาของการ Discharge อาจเกิดจากการซ้อนทับกันในขณะขนส่งทำให้เกิดการอัดแน่น และ ลำเลียงออกมาได้ยาก ดังนั้น Shape Big Bag Discharger จึงมีอุปกรณ์ช่วยลำเลียงทำให้วัสดุนั้นเคลื่อนตัวไหลออกมาง่ายขึ้น
หากในขบวนการผลิต ไม่สามารถใช้วัสดุนั้น ๆ ได้หมดถุง หรือจำเป็นต้องเก็บส่วนที่เหลือไว้ในถุง Shape Big Bag Discharger ได้เพิ่มอุปกรณ์ที่สามารถหยุดการ Discharge เพื่อความสะดวกในการรัดปิดปมใต้ถุงของผู้ปฏิบัติงานได้อีกด้วย
Shape Big Bag Discharger สามารถออกแบบให้การ Discharge เป็นระบบปิด ทำให้สามารถควบคุมการฟุ้งกระจายในขณะที่ Discharge ทำให้สามารถรักษาความสะอาดได้ง่าย และป้องกันการปนเปื้อนของวัสดุในขณะที่ปฏิบัติงานได้เป็นอย่างดี
Shape Big Bag Discharger สามารถใช้ได้กับถุงจัมโบ้ทั้งชนิดที่มีและไม่มีถุงพลาสติกซ้อนอยู่ด้านใน ( liner )
เพราะอุปกรณ์เสริมพิเศษที่สามารถจัดม้วนเก็บ Liner มีแบบ Manual และ Automatic ให้เลือกใช้ ได้ตามต้องการ
ในกรณีที่ต้องการใช้วัสดุจาก Big Bag หลาย ๆ ชนิดพร้อมกันในกระบวนการผลิต หากต้องหยุดและเปลี่ยนถุงจะทำให้ขบวนการนั้นช้าลง ด้วยเหตุนี้เอง จึงทำให้มีการออกแบบเครื่อง Multi Discharger ที่สามารถทำงานพร้อม ๆ กันได้อย่างเหมาะสม และ สอดคล้องกันตามที่กำหนด
การถ่ายวัสดุ หรือ discharge วัสดุ ประเภท Bulk Material ชนิด ผง เกล็ด เมล็ด ออกจากถุงใหญ่ หรือถุงจัมโบ้นั้นในกระบวนการทำงานโดยทั่วไปแล้ว ใช้หลักการตามธรรมชาติคือ แรงโน้มถ่วงของโลก ที่ส่งผลกระทบต่อมวลของวัสดุ กล่าวคือ เมื่อปล่อยให้วัสดุไหลออกมาเองตามแรงดึงดูดของโลก วัสดุจะไหลออกมาตามน้ำหนักของวัสดุ ความเร็วในการ discharge ของวัสดุนั้นก็จะแตกต่างกัน
โดยปกติแล้วการ Discharge ของวัสดุ นั้นเมื่อใช้รอกยกหูของถุงขึ้นไปในที่สูงเพื่อปล่อยให้วัสดุไหลออกมาตามแรงโน้มถ่วงของโลก จะพบว่า วัสดุบางชนิดไหลออกมาได้ดี บางชนิดไหลออกมาได้ช้า และมีบางชนิดที่ไหลออกมาแล้ว เกิดการติดขัด ทำให้ไม่สามารถไหลออกมาได้อีก และจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ช่วยให้ไหลออกมาได้อีก เช่น การเขย่า การทุบเพื่อให้เกิดการเคลื่อนตัวออกมาจากถุงได้ สาเหตุดังกล่าว เกิดจากความแตกต่างทางกายภาพของวัสดุ เช่น อัตราการไหลของสาร ( Flow Rate )ที่แตกต่างกัน บางชนิดมีอัตราการไหลที่ดี แต่บางชนิดมีอัตราการไหลที่ไม่ดี ทำให้เกิดเป็นข้อจำกัดของการ discharge วัสดุแบบ Bulk Material
การควบคุมอัตราการไหลของสารจึงเป็นเทคโนโลยีที่ได้รับการพัฒนาเพื่อมารองรับความต้องการเพื่อการใช้งานในอุตสาหกรรมการผลิต
สำหรับกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมอาหาร นั้นวัตถุดิบที่ใช้มักจะมีลักษณะทั้งชนิด ผง
เมล็ด เกล็ด อีกทั้งการผลิตยังต้องใช้วัสดุดังกล่าวในปริมาณมาก
จึงทำให้ต้องคำนึงถึงความสะอาด ความสะดวก ความปลอดภัยในการทำงาน
- การใช้ค้อนทุบในขณะที่ Discharge เพื่อให้เกิดการแตกตัวของวัสดุนั้น ในบางครั้งกลับเป็นการเพิ่มความอัดแน่นให้แก่วัสดุนั้นไปโดยไม่ได้ตั้งใจ ทำให้วัสดุจับตัวกันแน่นมากขึ้น และเป็นอุปสรรคในการ discharge ทำให้ต้องสูญเสียเวลาและพนักงานในการทำงานมากขึ้น
- การฟุ้งกระจายในขณะที่ discharge เป็นอีกปัญหาหนึ่งที่มักจะพบเห็นได้การ discharge ดังนั้นการควบคุมความสะอาดคือ อีกปัจจัยหนึ่งที่ต้องปฎิบัติในกระบวนการผลิต สามารถต่อเข้ากับ Dust Collector เพื่อควบคุมการฟุ้งกระจายได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
- การเก็บวัสดุทีเหลือไว้ภายในถุง ซึ่งบางครั้งในกระบวนการผลิตอาจมีการใช้วัสดุไม่หมดถุงดังนั้นการเก็บส่วนที่เหลือจะต้องมีอุปกรณ์เพิ่มเติมที่ช่วยให้การ discharge มีประสิทธิภาพมากขึ้น
- การจัดเก็บถุงจัมโบ้ที่ต้องซ้อนถุงขึ้นในที่สูง มีปัจจัยที่ต้องคำนึงถึงเกี่ยวกับความสูงของถุง จำนวนชั้นที่ตั้งซ้อนกันอุปกรณ์การช่วยยกให้สะดวกและปลอดภัย รวมทั้งลักษณะของถุงที่ตั้งตรง ไม่โอนเอียง หรือ บวมเนื่องจากถุงลักษณะดังกล่าวมีโอกาสที่ลื่นไถล
Friday, January 26, 2007
แบบ new Agitator Design
Ribbon Blender เป็นหนึ่งในเครื่องผสมที่มีใบกวนในแนวนอน โดยทั่วไปแล้ว ใบกวนจะมีลักษณะหมุนเป็นเกลียวคล้ายใบสกรูเพื่อนำพาวัสดุต่าง ๆ ใน Ribbon Blender ให้สามารถผสมคลุกวนเข้าด้วยกันอย่างช้า ๆ โดยเดินทางจากปลายด้านหนึ่งไปสู่อีกด้านหนึ่ง แล้ว หมุนกลับเพื่อให้การผสมผสานเข้ากันตามที่กำหนด ซึ่ง Design นี้ได้ใช้อย่างแพร่หลายและรู้จักกันมาเป็นอย่างดี
Shape Ribbon Blender เป็นเครื่องผสมที่มีใบกวนในแนวนอน ซึ่งได้รับการพัฒนาเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่องเพื่อประสิทธิภาพสูงสุดในการผสม จากการพัฒนาและค้นคว้าลักษณะการผสมที่ทำให้วัสดุต่างๆ ที่ผสม สามารถคลุกเคล้าให้เข้ากันอย่างสม่ำเสมอ นุ่มนวล กระจายตัวได้อย่างทั่วถึง ในระยะที่สั้นลงจาก Design เดิม ทำให้ประหยัดพลังงานและเวลาในกระบวนผลิตได้เป็นอย่างดี
Shape Ribbon Blender ได้ออกแบบใบกวน ( Agitator ) แบบพิเศษให้ใบกวนที่โค้งเวียนโดยสอดคล้องกันกับการผสม หมุนวน เพื่อคลุกเคล้าให้วัสดุเกิดการเคลื่อนตัวไปอย่างช้า ๆ สม่ำเสมอ และกระจายตัวได้อย่างทั่วถึงกันจากด้านบนสู่ด้านล่าง และจากฝั่งซ้ายย้ายไปฝั่งขวาในระยะเวลาอันสั้น และที่สำคัญคือ เป็นการออกแบบเพื่อรองรับแนวคิดการทำความสะอาดได้ง่าย ( Easy Clean Design Concept )
นอกจาก ใบกวนที่ได้รับการออกแบบพิเศษแล้ว Shape Ribbon Blender ยังมีระบบ Air Purge Seal โดยใช้ระบบลมสะอาด เป่า บริเวณ แกนเพลาเพื่อป้องกันการรั่วซึมของวัสดุในขณะผสม ทำให้รักษาความสะอาดของวัสดุและป้องกันการอุดตันของลูกปืน ( bearing ) ทำให้ยึดอายุการใช้งานของลูกปืนได้เป็นอย่างดี ทั้งยังลดเวลาในการซ่อมบำรุงอีกด้วย
Shape Ribbon Blender สามารถออกแบบให้สามารถใช้ร่วมกับ วาล์วเปิด-ปิด ( discharge Valve ) เช่น slide valve , butterfly valve , rotary vale ฯลฯ ได้เป็นอย่างดี ซึ่งการติดตั้ง วาล์วต่าง ๆ เหล่านี้ มักจะมีจุดที่เป็นจุดบอดที่ไม่สามารถผสมได้ทั้งหมด เนื่องจากการติดตั้งวาล์วเหล่านี้จะมีช่องว่างในบริเวณหน้าวาล์วมีผิวสัมผัส ทำให้วัสดุบางส่วนอาจตกค้างในบริเวณนี้ได้
Shape Ribbon Blender ขอแนะนำ Plug Valve ซึ่งมีลักษณะพิเศษคือ หน้าผิวสัมผัสของวาล์วจะโค้งรับกับผิวสัมผัสภายในเครื่องผสม ไม่มีช่องว่างในบริเวณที่มีการติดตั้งวาล์ว ทำให้สามารถผสมวัสดุภายในได้อย่างครบถ้วน
นอกจากนี้ Shape Ribbon Blender ยังสามารถเพิ่มอุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานได้สูงสุด เช่น เพิ่มตัวปั่น( intensifier ) เพื่อเพิ่มประสิทธิ์ภาพในเรื่องการการเติมสี เช่นเดียวกับอุปกรณ์ที่ติดตั้งใน Plough Mixer หรือ เพิ่มอุปกรณ์หัวพ่น หรือ ท่อน้ำหยด ของเหลว น้ำมัน หรือ น้ำหอม ลงใน Shape Ribbon Blender เพื่อเพิ่มประสิทธิ์ภาพสูงสุดในการผสม
Shape Ribbon Mixer ผลิตในประเทศไทย โดยสามารถรองรับกำลังการผลิตได้ตั้งแต่ 200 – 6000 ลิตร ทั้งชนิดโครงสร้างเหล็ก ( Mild Steel ) และ สแตนเลส ( Stainless Steel )
ด้วยความมั่นใจในเทคโนโลยีการผสมที่ท่านต้องประทับใจ
Shape ขอเรียนเชิญท่านที่มีความสนใจ และทดสอบประสิทธิภาพ Shape Ribbon Blender ด้วยตัวท่านเองที่ Test Plant ณ.โรงงานของ Shape หากท่านสนใจการทดสอบ ติดต่อ สอบถามได้ที่ โทร 02 382 5100 ( 8 สายอัตโนมัติ )
Wednesday, January 17, 2007
EZ Kleen Screw Feeder
EZ Kleen Screw Feeder เป็นอุปกรณ์การลำเลียงวัสดุชนิดผง เกล็ด เมล็ด ฯลฯ ที่ได้รับการพัฒนาให้รองรับการใช้งานในอุตสาหกรรมอาหาร ได้เป็นอย่างดี และสอดคล้องกับแนวคิด “ Easy Clean Design “ ทำให้ทำความสะอาดได้ง่าย สะดวกต่อผู้ใช้งาน ทำให้เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานมากยิ่งขึ้น
EZ Kleen Screw Feeder เป็นหนึ่งในอุปกรณ์ลำเลียงที่สามารถควบคุมอัตราการลำเลียงให้คงที่สม่ำเสมอและแม่นยำตลอดการทำงาน ด้วยการออกแบบให้ผู้ใช้สามารถถอดใบสกรูออกจากท่อลำเลียงได้ง่ายโดยไม่ต้องใช้อุปกรณ์ใด ๆ จึงทำให้ลดเวลาสำหรับการถอดและประกอบกลับเพื่อใช้งาน และที่สำคัญ ผู้ใช้ยังสามารถทำความสะอาดได้ทุก ๆ เกลียวสกรูและด้านในของท่อลำเลียงได้อย่างทั่วถึง ทำให้ป้องกันปัญหาการปนเปื้อนของวัสดุในขณะลำเลียงได้
EZ Kleen Screw Feeder สามารถผลิตได้ในประเทศไทย