Wednesday, January 31, 2007

การป้องกันการปนเปื้อนในอุตสาหกรรมอาหาร

ในกระบวนการผลิตอาหารโดยทั่วไป วัตถุดิบที่ใช้มักจะมีหลายประเภทแตกต่างกันไป ดังนั้น การควบคุม ความสะอาด และการปนเปื้อนจึงเป็นปัจจัยสำคัญ อีก ประการหนึ่งที่ต้องนำมาพิจารณา ซึ่งการปนเปื้อนมีหลาประเภทดังนี้

  • การปนเปื้อนทางกายภาพ เช่น ฝุ่นละออง เศษไม้ เศษโลหะ และ เศษวัสดุอื่น ๆ อันอาจเกิดจาก การปนเปื้อนของเศษวัสดุต่าง ๆ ที่มาจากวัตถุดิบ เครื่องมือหรือ การแตกหักของภาชนะ หรือ หลอดไฟ ตกลงสู่วัตถุดิบ
  • การปนเปื้อนทางด้านเคมี เช่น ยาฆ่าแมลง น้ำยาทำความสะอาด สารเคมีฆ่าเชื้อ น้ำมันหล่อลื่น( จาระบี ) สารเคมีที่ใช้ในการเติมลงอาหารมีปริมาณเกินกว่ากฎหมายกำหนด
  • การปนเปื้อนทางด้านจุลินทรีย์ เช่น แบคทีเรีย ไวรัส และ เชื้อรา อันอาจเกิดจาก เครื่องมือ เครื่องใช้ที่ไม่สะอาด และการควบคุมการผลิตไม่ดีพอ ทำให้เกิดการปนเปื้อนระหว่างกระบวนการผลิตและการขนส่ง ตลอดจนการปฏิบัติงานของพนักงานไม่ถูกสุขลักษณะ


ในอุตสาหกรรมการผลิตอาหาร วัตถุดิบชนิดผง เกล็ด เมล็ด มีมากมายหลายชนิด ดังนั้น การลำเลียงวัสดุดังกล่าวต้องคำนึงถึงการปนเปื้อนระหว่างวัตถุดิบด้วยกัน บางครั้งการปนเปื้อนระหว่างวัตถุดิบด้วยกันอาจมีผลทำให้คุณสมบัติบางประการเช่น รสชาติ กลิ่น และ สีของผลิตภัณฑ์ผิดเพี้ยนไปได้


อุปกรณ์การลำเลียงจึงต้องสอดคล้องและรองรับการใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น จัดแบ่งอุปกรณ์การลำเลียงออกเป็นสัดส่วนไม่ปะปนกันหรือ อุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกันต้องสามารถทำความสะอาดได้ง่าย ไม่มีการตกค้างของวัสดุที่ลำเลียงไปแล้ว ทำให้ลดการสะสมของจุลินทรีย์ต่าง ๆ ดังนั้นการออกแบบเครื่องมือ อุปกรณ์ การลำเลียงต้องพิจารณาเรื่องของการทำความสะอาด ประกอบติดตั้ง ซ่อมบำรุงได้ง่าย ทั้งนี้เพื่อความสะดวก รวดเร็วในการทำงานเพื่อประสิทธิภาพสูงสุด

Tuesday, January 30, 2007

การอุดตันที่เกิดขึ้นใน ฮอปเปอร์ หรือ ไซโล

การอุดตันในขณะลำเลียงขนถ่ายวัสดุออกจากไซโลหรือ ถังเก็บ ฯลฯ เป็นหนึ่งในอุปสรรคของการลำเลียงวัสดุชนิด Bulk Material ที่เป็นผง เมล็ด เกล็ด ฯลฯ ทำให้วัสดุเหล่านี้ไม่สามารถเคลื่อนที่ได้สะดวก ต้องสูญเสียเวลาในการทำงานปัญหาเหล่านี้มักจะพบได้ในขณะที่ขนถ่าย หรือ Discharge กล่าวคือ วัสดุสามารถไหลออกมาได้สักระยะแล้วเกิดการติดขัด หรือ หยุดนิ่งไป ไม่เคลื่อนที่

การอุดตันเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุเช่น คุณสมบัติการไหลของวัสดุ ( free flow ) การจัดเก็บในไซโลอาจเกิดการกดทับทำให้วัสดุเกิดการเกาะตัวแน่นมากขึ้น เป็นต้น ในขณะเดียวกันปริมาตรของวัสดุที่ได้ขนถ่ายออกไปแล้วก็เกิดเป็นโพรงขึ้นมา ทำให้ไม่สามารถเคลื่อนที่ได้อย่างต่อเนื่อง ลักษณะของการกดทับและทำให้เกิดการสะสมตัวในบรรจุภัณฑ์มักจะมี 3 ลักษณะ

1 Rat Holing มีลักษณะเหมือนโพรงรูหนู ซึ่งจะเป็นโพรงตรงกลางทะลุจากด้านบนลงสู่ด้านล่าง และเกิดการสะสมกดทับบริเวณโดยรอบ ทำให้ไม่สามารถ Discharge ได้สะดวก





2. Bridging มีลักษณะเป็นโพรงโค้ง คล้ายสะพานอยู่ด้านล่าง แต่จะเกิดการกดทับสะสมอยู่ด้านบนทำให้วัสดุไม่สามารถไหลลงมาได้




3. Segregation มีลักษณะแยกตัวจากกัน และวัสดุเกิดจับตัว ล็อกแน่น ทำให้ไม่ให้เคลื่อนที่ไปได้


ด้วยเหตุนี้เองจึงมีการพัฒนาเทคโนโลยีต่าง ๆ เพื่อเข้ามาช่วยแก้ปัญหาต่างๆ เหล่านี้ ซึ่งปัจจุบันก็มีหลายวิธี เช่น

• การออกแบบรูปทรง และมุมหัก ลาดเทเพื่อให้ Discharge จากไซโลให้มีประสิทธิภาพสูงสุด
• เพิ่มอุปกรณ์บางชนิดที่ช่วยให้เกิดการสั่น สะเทือน ช่วยเคาะ เขย่า หรือใช้แรงลมเป่าทำลายการเกาะตัวของวัสดุ หรือ อุปกรณ์ที่เคลื่อนที่ขยับขึ้นลง หรือ หมุนวน เพื่อให้วัสดุที่เกาะตัวกันนั้นแตกตัวทำให้เคลื่อนที่ออกมาได้

เทคโนโลยีดังกล่าวข้างต้น เป็นแนวทางเบื้องต้นให้เลือกใช้เพื่อแก้ไขปัญหาการอุดตันในระหว่างการขนถ่าย หรือ Discharge ใน กระบวนการลำเลียงและการผลิต

Monday, January 29, 2007

SHAPE Big Bag Discharger

อุตสาหกรรมการผลิตในปัจจุบัน ได้มีการนำเอาถุงบรรจุขนาดใหญ่ หรือ ถุง Big Bag ซึ่งบางท่านอาจจะเรียกว่า ถุงจัมโบ้ มาใช้ขบวนการบรรจุผลิตภัณฑ์มากขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากการบรรจุด้วยถุงขนาดใหญ่นั้น จะช่วยให้ประหยัดต้นทุนในการบรรจุ และการขนส่งได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้แล้วยังลดเวลาและแรงงานในการลำเลียงเข้าสู่ขบวนการผลิตอีกด้วย

โดยปกติแล้ว การลำเลียงขนถ่ายวัสดุออกจากถุง big bag นั้น ใช้กฎของแรงโน้มถ่วงของโลก กล่าวคือ วัสดุย่อมไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ ซึ่งเป็นธรรมชาติของการเคลื่อนที่ของวัตถุ แต่หากวัสดุที่บรรจุอยู่ในถุงจัมโบ้นั้น เป็นวัสดุประเภท Bulk Material หรือ วัสดุประเภท ผง เกล็ด เมล็ด แล้ว จะพบว่า การถ่ายวัสดุออกจากถุงจัมโบ้นั้นมักจะพบปัญหา การฟุ้งกระจายในขณะที่ปฏิบัติงาน ทำให้ควบคุมความสะอาดได้ยาก และในบางครั้งผู้ปฏิบัติงานอาจใช้รอก หรือ รถ โฟล์คลิฟท์ หิ้วหูถุง Big Bag ให้ลอยตัวสูงขึ้น และเจ้าหน้าที่ยืนอยู่ด้านล่างแล้วปลดปมใต้ถุง เพื่อนำเอาวัสดุที่บรรจุไปใช้งานนั้น ซึ่งการปฏิบัติงานในลักษณะเช่นนี้ อาจก่อให้เกิดอันตรายกับเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานได้ หากความแข็งแรงของหูถุงไม่เพียงพอในขณะที่ยกขึ้นลอยในอากาศอาจทำให้ถุงหลุดร่วง หล่นทับเจ้าที่ในขณะที่ปฏิบัติงานได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องระมัดระวังเป็นอย่างมาก
ดังนั้นจึงมีการพัฒนาและคิดค้นเทคโนโลยีการขนถ่าย ( Discharge ) เข้ามาใช้ในอุตสาหกรรมการผลิต โดยพัฒนาเป็น Shape Big Bag Discharger เครื่องลำเลียงขนถ่ายที่ได้รับการออกแบบเพื่อรองรับการใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูง ประกอบด้วย ขั้นตอนการทำงานที่สะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย อีกทั้งยังสามารถออกแบบให้ใช้งานร่วมกับระบบการลำเลียงอื่น ๆ เช่น สกรูคอนเวเยอร์ vibratory conveyor ระบบนิวเมติก ฯลฯ ได้โดยง่าย นอกจากนี้ Shape Big Bag Discharger ยังได้รับการออกแบบให้มีโครงสร้างที่แข็งแรง มั่นคง และ ปลอดภัยต่อผู้ปฏิบัติงานอีกด้วย
Shape Big Bag Discharger สามารถผลิตได้ในประเทศไทย ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย รองรับการใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ สามารถควบคุมอัตราการไหลของวัสดุได้ตามต้องการ เนื่องจากวัสดุบางชนิดมีอัตราการไหลที่เร็ว และ ช้าที่ต่างกัน อันเนื่องจากคุณสมบัติทางกายภาพของวัสดุนั้น ๆ บางครั้งปัญหาของการ Discharge อาจเกิดจากการซ้อนทับกันในขณะขนส่งทำให้เกิดการอัดแน่น และ ลำเลียงออกมาได้ยาก ดังนั้น Shape Big Bag Discharger จึงมีอุปกรณ์ช่วยลำเลียงทำให้วัสดุนั้นเคลื่อนตัวไหลออกมาง่ายขึ้น
หากในขบวนการผลิต ไม่สามารถใช้วัสดุนั้น ๆ ได้หมดถุง หรือจำเป็นต้องเก็บส่วนที่เหลือไว้ในถุง Shape Big Bag Discharger ได้เพิ่มอุปกรณ์ที่สามารถหยุดการ Discharge เพื่อความสะดวกในการรัดปิดปมใต้ถุงของผู้ปฏิบัติงานได้อีกด้วย

Shape Big Bag Discharger สามารถออกแบบให้การ Discharge เป็นระบบปิด ทำให้สามารถควบคุมการฟุ้งกระจายในขณะที่ Discharge ทำให้สามารถรักษาความสะอาดได้ง่าย และป้องกันการปนเปื้อนของวัสดุในขณะที่ปฏิบัติงานได้เป็นอย่างดี

Shape Big Bag Discharger สามารถใช้ได้กับถุงจัมโบ้ทั้งชนิดที่มีและไม่มีถุงพลาสติกซ้อนอยู่ด้านใน ( liner )
เพราะอุปกรณ์เสริมพิเศษที่สามารถจัดม้วนเก็บ Liner มีแบบ Manual และ Automatic ให้เลือกใช้ ได้ตามต้องการ
ในกรณีที่ต้องการใช้วัสดุจาก Big Bag หลาย ๆ ชนิดพร้อมกันในกระบวนการผลิต หากต้องหยุดและเปลี่ยนถุงจะทำให้ขบวนการนั้นช้าลง ด้วยเหตุนี้เอง จึงทำให้มีการออกแบบเครื่อง Multi Discharger ที่สามารถทำงานพร้อม ๆ กันได้อย่างเหมาะสม และ สอดคล้องกันตามที่กำหนด
Big Bag Discharger Concept


แนวคิดสำหรับการถ่ายวัสดุออกจากถุงใหญ่ หรือ ถุงจัมโบ้

การถ่ายวัสดุ หรือ discharge วัสดุ ประเภท Bulk Material ชนิด ผง เกล็ด เมล็ด ออกจากถุงใหญ่ หรือถุงจัมโบ้นั้นในกระบวนการทำงานโดยทั่วไปแล้ว ใช้หลักการตามธรรมชาติคือ แรงโน้มถ่วงของโลก ที่ส่งผลกระทบต่อมวลของวัสดุ กล่าวคือ เมื่อปล่อยให้วัสดุไหลออกมาเองตามแรงดึงดูดของโลก วัสดุจะไหลออกมาตามน้ำหนักของวัสดุ ความเร็วในการ discharge ของวัสดุนั้นก็จะแตกต่างกัน

โดยปกติแล้วการ Discharge ของวัสดุ นั้นเมื่อใช้รอกยกหูของถุงขึ้นไปในที่สูงเพื่อปล่อยให้วัสดุไหลออกมาตามแรงโน้มถ่วงของโลก จะพบว่า วัสดุบางชนิดไหลออกมาได้ดี บางชนิดไหลออกมาได้ช้า และมีบางชนิดที่ไหลออกมาแล้ว เกิดการติดขัด ทำให้ไม่สามารถไหลออกมาได้อีก และจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ช่วยให้ไหลออกมาได้อีก เช่น การเขย่า การทุบเพื่อให้เกิดการเคลื่อนตัวออกมาจากถุงได้ สาเหตุดังกล่าว เกิดจากความแตกต่างทางกายภาพของวัสดุ เช่น อัตราการไหลของสาร ( Flow Rate )ที่แตกต่างกัน บางชนิดมีอัตราการไหลที่ดี แต่บางชนิดมีอัตราการไหลที่ไม่ดี ทำให้เกิดเป็นข้อจำกัดของการ discharge วัสดุแบบ Bulk Material

การควบคุมอัตราการไหลของสารจึงเป็นเทคโนโลยีที่ได้รับการพัฒนาเพื่อมารองรับความต้องการเพื่อการใช้งานในอุตสาหกรรมการผลิต
สำหรับกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมอาหาร นั้นวัตถุดิบที่ใช้มักจะมีลักษณะทั้งชนิด ผง
เมล็ด เกล็ด อีกทั้งการผลิตยังต้องใช้วัสดุดังกล่าวในปริมาณมาก
จึงทำให้ต้องคำนึงถึงความสะอาด ความสะดวก ความปลอดภัยในการทำงาน

  • การใช้ค้อนทุบในขณะที่ Discharge เพื่อให้เกิดการแตกตัวของวัสดุนั้น ในบางครั้งกลับเป็นการเพิ่มความอัดแน่นให้แก่วัสดุนั้นไปโดยไม่ได้ตั้งใจ ทำให้วัสดุจับตัวกันแน่นมากขึ้น และเป็นอุปสรรคในการ discharge ทำให้ต้องสูญเสียเวลาและพนักงานในการทำงานมากขึ้น




  • การฟุ้งกระจายในขณะที่ discharge เป็นอีกปัญหาหนึ่งที่มักจะพบเห็นได้การ discharge ดังนั้นการควบคุมความสะอาดคือ อีกปัจจัยหนึ่งที่ต้องปฎิบัติในกระบวนการผลิต สามารถต่อเข้ากับ Dust Collector เพื่อควบคุมการฟุ้งกระจายได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด



  • ารเก็บวัสดุทีเหลือไว้ภายในถุง ซึ่งบางครั้งในกระบวนการผลิตอาจมีการใช้วัสดุไม่หมดถุงดังนั้นการเก็บส่วนที่เหลือจะต้องมีอุปกรณ์เพิ่มเติมที่ช่วยให้การ discharge มีประสิทธิภาพมากขึ้น




  • การใช้รอกหิ้วหูของถุงจัมโบ้ขึ้นนั้น จะสังเกตุได้ว่า วัสดุมักจะไหลออกไปด้านใดด้านหนึ่งก่อน และมักจะเอียงไปด้านใดด้านหนึ่งทำให้การ Discharge ต้องมีเจ้าหน้าที่คอยดูแลให้ทิศทางการ discharge เป็นไปตามต้องการ











    • การจัดเก็บถุงจัมโบ้ที่ต้องซ้อนถุงขึ้นในที่สูง มีปัจจัยที่ต้องคำนึงถึงเกี่ยวกับความสูงของถุง จำนวนชั้นที่ตั้งซ้อนกันอุปกรณ์การช่วยยกให้สะดวกและปลอดภัย รวมทั้งลักษณะของถุงที่ตั้งตรง ไม่โอนเอียง หรือ บวมเนื่องจากถุงลักษณะดังกล่าวมีโอกาสที่ลื่นไถล



  • การลำเลียง จัดเก็บถุงจัมโบ้เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ต้องคำนึงถึงเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน ทั้งนี้ เนื่องจากในบางครั้งความสูงของถุงจัมโบ้ที่มีความสูงมากกว่าพื้นที่ของฐาน มีโอกาสของการโค่นล้มของถุง ซึ่งเป็นอันตรายในการทำงาน ดังนั้นการลำเลียงถุงจัมโบ้ที่บรรจุแล้วควร พิจารณาอุปกรณ์ในการลำเลียงเพื่อความปลอดภัย เช่น รถโฟลค์ลิฟท์ รอกยก รถเข็น ฯลฯ


  • Friday, January 26, 2007


    Ribbon Blender เครื่องผสมผงแห้ง
    แบบ new Agitator Design

    Ribbon Blender เป็นหนึ่งในเครื่องผสมที่มีใบกวนในแนวนอน โดยทั่วไปแล้ว ใบกวนจะมีลักษณะหมุนเป็นเกลียวคล้ายใบสกรูเพื่อนำพาวัสดุต่าง ๆ ใน Ribbon Blender ให้สามารถผสมคลุกวนเข้าด้วยกันอย่างช้า ๆ โดยเดินทางจากปลายด้านหนึ่งไปสู่อีกด้านหนึ่ง แล้ว หมุนกลับเพื่อให้การผสมผสานเข้ากันตามที่กำหนด ซึ่ง Design นี้ได้ใช้อย่างแพร่หลายและรู้จักกันมาเป็นอย่างดี








    Shape Ribbon Blender เป็นเครื่องผสมที่มีใบกวนในแนวนอน ซึ่งได้รับการพัฒนาเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่องเพื่อประสิทธิภาพสูงสุดในการผสม จากการพัฒนาและค้นคว้าลักษณะการผสมที่ทำให้วัสดุต่างๆ ที่ผสม สามารถคลุกเคล้าให้เข้ากันอย่างสม่ำเสมอ นุ่มนวล กระจายตัวได้อย่างทั่วถึง ในระยะที่สั้นลงจาก Design เดิม ทำให้ประหยัดพลังงานและเวลาในกระบวนผลิตได้เป็นอย่างดี


    Shape Ribbon Blender ได้ออกแบบใบกวน ( Agitator ) แบบพิเศษให้ใบกวนที่โค้งเวียนโดยสอดคล้องกันกับการผสม หมุนวน เพื่อคลุกเคล้าให้วัสดุเกิดการเคลื่อนตัวไปอย่างช้า ๆ สม่ำเสมอ และกระจายตัวได้อย่างทั่วถึงกันจากด้านบนสู่ด้านล่าง และจากฝั่งซ้ายย้ายไปฝั่งขวาในระยะเวลาอันสั้น และที่สำคัญคือ เป็นการออกแบบเพื่อรองรับแนวคิดการทำความสะอาดได้ง่าย ( Easy Clean Design Concept )




    นอกจาก ใบกวนที่ได้รับการออกแบบพิเศษแล้ว Shape Ribbon Blender ยังมีระบบ Air Purge Seal โดยใช้ระบบลมสะอาด เป่า บริเวณ แกนเพลาเพื่อป้องกันการรั่วซึมของวัสดุในขณะผสม ทำให้รักษาความสะอาดของวัสดุและป้องกันการอุดตันของลูกปืน ( bearing ) ทำให้ยึดอายุการใช้งานของลูกปืนได้เป็นอย่างดี ทั้งยังลดเวลาในการซ่อมบำรุงอีกด้วย


    Shape Ribbon Blender สามารถออกแบบให้สามารถใช้ร่วมกับ วาล์วเปิด-ปิด ( discharge Valve ) เช่น slide valve , butterfly valve , rotary vale ฯลฯ ได้เป็นอย่างดี ซึ่งการติดตั้ง วาล์วต่าง ๆ เหล่านี้ มักจะมีจุดที่เป็นจุดบอดที่ไม่สามารถผสมได้ทั้งหมด เนื่องจากการติดตั้งวาล์วเหล่านี้จะมีช่องว่างในบริเวณหน้าวาล์วมีผิวสัมผัส ทำให้วัสดุบางส่วนอาจตกค้างในบริเวณนี้ได้

    Shape Ribbon Blender ขอแนะนำ Plug Valve ซึ่งมีลักษณะพิเศษคือ หน้าผิวสัมผัสของวาล์วจะโค้งรับกับผิวสัมผัสภายในเครื่องผสม ไม่มีช่องว่างในบริเวณที่มีการติดตั้งวาล์ว ทำให้สามารถผสมวัสดุภายในได้อย่างครบถ้วน

    นอกจากนี้ Shape Ribbon Blender ยังสามารถเพิ่มอุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานได้สูงสุด เช่น เพิ่มตัวปั่น( intensifier ) เพื่อเพิ่มประสิทธิ์ภาพในเรื่องการการเติมสี เช่นเดียวกับอุปกรณ์ที่ติดตั้งใน Plough Mixer หรือ เพิ่มอุปกรณ์หัวพ่น หรือ ท่อน้ำหยด ของเหลว น้ำมัน หรือ น้ำหอม ลงใน Shape Ribbon Blender เพื่อเพิ่มประสิทธิ์ภาพสูงสุดในการผสม
    Shape Ribbon Mixer ผลิตในประเทศไทย โดยสามารถรองรับกำลังการผลิตได้ตั้งแต่ 200 – 6000 ลิตร ทั้งชนิดโครงสร้างเหล็ก ( Mild Steel ) และ สแตนเลส ( Stainless Steel )
    ด้วยความมั่นใจในเทคโนโลยีการผสมที่ท่านต้องประทับใจ
    Shape ขอเรียนเชิญท่านที่มีความสนใจ และทดสอบประสิทธิภาพ Shape Ribbon Blender ด้วยตัวท่านเองที่ Test Plant ณ.โรงงานของ Shape หากท่านสนใจการทดสอบ ติดต่อ สอบถามได้ที่ โทร 02 382 5100 ( 8 สายอัตโนมัติ )

    Wednesday, January 17, 2007


    EZ Kleen Screw Feeder

    EZ Kleen Screw Feeder เป็นอุปกรณ์การลำเลียงวัสดุชนิดผง เกล็ด เมล็ด ฯลฯ ที่ได้รับการพัฒนาให้รองรับการใช้งานในอุตสาหกรรมอาหาร ได้เป็นอย่างดี และสอดคล้องกับแนวคิด “ Easy Clean Design “ ทำให้ทำความสะอาดได้ง่าย สะดวกต่อผู้ใช้งาน ทำให้เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานมากยิ่งขึ้น


    EZ Kleen Screw Feeder เป็นหนึ่งในอุปกรณ์ลำเลียงที่สามารถควบคุมอัตราการลำเลียงให้คงที่สม่ำเสมอและแม่นยำตลอดการทำงาน ด้วยการออกแบบให้ผู้ใช้สามารถถอดใบสกรูออกจากท่อลำเลียงได้ง่ายโดยไม่ต้องใช้อุปกรณ์ใด ๆ จึงทำให้ลดเวลาสำหรับการถอดและประกอบกลับเพื่อใช้งาน และที่สำคัญ ผู้ใช้ยังสามารถทำความสะอาดได้ทุก ๆ เกลียวสกรูและด้านในของท่อลำเลียงได้อย่างทั่วถึง ทำให้ป้องกันปัญหาการปนเปื้อนของวัสดุในขณะลำเลียงได้



    EZ Kleen Screw Feeder สามารถผลิตได้ในประเทศไทย