Friday, April 02, 2010

มารู้จัก Volumetric Dosing กัน

ต่อจากบทความที่แล้ว

Volumetric Dosing

ระบบนี้จะเตรียมส่วนผสมให้ มีปริมาตรหนึ่ง ณ ช่วงเวลาหนึ่งที่กำหนดขึ้น ดังนั้นจึงเหมาะกับกระบวนการผลิตที่สูตรการผสมเป็นลิตร/นาที หรือ ลูกบาศก์เมตร/ ชั่วโมง ตัวอย่างของระบบนี้ ถ้าส่วนผสมที่เป็นผงจะใช้สกรูฟีดเดอร์ ( Screw feeders ) โรตารี่ฟีดเดอร์ ( rotary ( star ) feeders ) ฟีดเดอร์ระบบสั่น ( Vibratory feeder ) ถ้าเป็นนส่วนผสมที่เป็นของเหลวจะใช้ volumetric pumps หรือ dosing cylinders

ข้อ ดีและข้อเสียของระบบ Volumetric Dosing

ข้อดี

  1. เครื่อง จ่าย ( Feed Device ) สามารถจ่ายส่วนผสมลงในภาชนะเตรียมส่วนผสมได้ มากกว่าหนึ่งภาชนะในเวลาเดียวกัน
  2. ให้ความแม่นยำสูง แม้ในปริมมาตรเล็กน้อย ( 1-2,000 มิลลิลิตร )
  3. สามารถป้อนส่วนผสมอย่างต่อเนื่อง หรือกึ่งต่อเนื่องด้วยอัตราคงที่เข้าสู่กระบวนการ ผลิต

ข้อเสีย

  1. ถ้าสูตรการผลิตเป็นต่อน้ำหนัก แต่ส่วนการผสมที่เตรียมไว้เป็นต่อปริมาตร จะไม่สามารถตรวจสอบปริมาณที่จ่ายจริง ไปได้ว่า แตกต่างจากที่ต้องการเท่าไร
  2. อุณหภูมิ ความถ่วงจำเพาะ และความหนาแน่นของวัสดุ มีผลกระทบกับปริมาณส่วนผสมที่เตรียมได้ในแต่ละครั้ง
  3. ถ้า สูตรการผสมในแต่ละสูตรมีปริมาณแตกต่างกันมาก และต้องการรักษาความแม่นยำของปริมาณน้อยไว้ อาจต้องปรับให้เครื่องจ่ายเดินช้าลงมาก สำหรับการจ่ายสูตรที่มีปริมาณมาก
  4. ใน กรณีข้อ3 ข้างต้อน อาจมีความจำเป็นต้องใช้เครื่องจ่าย Feed Deviceหนึ่งตัวต่อหนึ่งสูตรการเตรียม
  5. ระบบบนี้ต้องการเครื่องจ่าย เฉพาะที่จะจ่ายวัสดุปริมาตรคงที่อย่างต่อเนื่อง ณ เวลาที่กำหนดไว้ การจ่ายวัสดุมิได้ขึ้นอยู่กับแรงโน้มถ่วงเพียงอย่างเดียว

( ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติม ในบทความถัดไป )

หมายเหตุ : ที่มาของบทความ จาก นิตยสาร Food Focus ฉบับ เดือน ตุลาคม 2550
http://www.foodfocusthailand.com/


เขียน โดย Mr. Mike Allin - Managing Director
แปลและเรียบเรียง โดย คุณ อ้อยทิพย์ กุลวัลลภ - General Manager

. โซลิดส์ แฮนด์ลิ่ง แอนด์โปรเซส เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด
The Powder Handling & Processing Specialists !